Skip to main content

การบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภูมิอากาศ พลังงาน และการจัดการทรัพยากรน้ำ

แนวทางการบริหารจัดการ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เอกสารดาวน์โหลด
คำแสดงเจตจำนงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IRPC Climate Change Statement)ดาวน์โหลด
โครงสร้างการบริหารงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เอกสารดาวน์โหลด
โครงสร้างการบริหารงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดาวน์โหลด

ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical risks)

รูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ความแห้งแล้งและน้ำท่วมมีแนวโน้มมากขึ้น เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว อาจส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักเพิ่มขึ้น

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition risks)

นโยบายและกฎหมาย: ครอบคลุมเป้าหมายและนโยบาย NDC ของประเทศไทย (ร่าง)พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย การเก็บภาษีคาร์บอนและระบบการค้าเพื่อสิทธิในการปล่อยคาร์บอน โดยครอบคลุมความเสี่ยงจากนโยบาย เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ และกฎหมายที่รัฐบาลไทยกำหนด

ตลาด: ความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์และการเปลี่ยนแปลงความต้องการในแต่ละสถานการณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า เช่น ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลง

เทคโนโลยี: เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำหรือพลังงานในอนาคตที่จะมาแทนที่ธุรกิจเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง

ชื่อเสียง: ความต้องการและความคาดหวังของนักลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ

สถานการณ์ด้านภูมิอากาศ (Climate Scenarios)

จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส   IRPC ได้ตั้งสมมติฐานที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจภายใต้สถานการณ์ด้านภูมิอากาศ 2 สถานการณ์ (Scenario) ดังนี้:

  • STEPS (2.3°C) สะท้อนถึงการตั้งค่านโยบายปัจจุบันโดยอิงจากการประเมินตามภาคส่วน (by Sector) รวมทั้งนโยบายที่รัฐบาลทั่วโลกประกาศใช้ โดยที่การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ประมาณ 2.8°C
  • NZE (1.5 ° C) กำหนดวิธีการดำเนินงานที่เข้มข้นกว่าแต่สามารถทำได้สำหรับภาคพลังงานทั่วโลกเพื่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 ° C ที่คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero target)

การตอบสนองต่อความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

IRPC เล็งเห็นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเริ่มโครงการต่างๆ เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ การกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร และโครงการด้าน Carbon Neutral ต่างๆ   IRPC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดทำโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ IRPC ยังนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจของเรา โดยร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำขยะพลาสติกอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตของเรา

โอกาสเชิงปริมาณ (Quantifiable Opportunity)

ในทางกลับกัน IRPC ยังได้พิจารณาถึงโอกาสที่อาจเกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EV  เราพบว่าการซื้อรถใหม่เพื่อตอบรับการส่งเสริมการผลิต EV ของรัฐบาลจะส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น เช่น Polypropylene Compound & Composite ที่ใช้เพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการในการผลิตแบตเตอรี่ ความต้องการใช้อะเซทิลีนก็จะสูงขึ้นด้วย

กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เอกสารดาวน์โหลด
Task Force for Climate Related Financial Disclosure (TCFD)ดาวน์โหลด
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนดาวน์โหลด
กลยุทธ์ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดาวน์โหลด

ผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ไออาร์พีซี ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  1. POLIMAXX Green ABS เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากยางธรรมชาติแทนยางสังเคราะห์ และการใช้งานของผลิตภัณฑ์นี้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
  2. POLIMAXX Green PS เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทำมาจากการผสมสไตรีนร้อยละ 20 – 50 กับยางธรรมชาติ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้เกิดจากการดำเนินงานร่วมกับลูกค้าเพื่อผลิตกรวยจราจรจากวัสดุยางพลาสติกที่สามารถลดส่วนผสมของยางสังเคราะห์ได้ร้อยละ 30
  3. POLIMAXX Wood Plastic Composite เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผสมกับผงไม้ในสัดส่วนที่เหมาะสม และเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตการบรรจุภัณฑ์และเฟอร์นิเจอร์ โดยผ่านมาตรฐาน Food Contact EU Regulation (FDA) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบรรจุอาหาร
  4. POLIMAXX Nautral Pigment Color Compound เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในกลุ่มพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำมาจากการผสมพลาสติกกับสีธรรมชาติแทนสีสังเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยสีเขียวจากผักขม สีแดงจากครั่ง มะเขือเทศ หรือสตอเบอรี่ สีเหลืองจากขมิ้น พริกหยวก หรือแคร์รอต ผลิตภัณฑ์นี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศที่ใส่ใจถึงสุขภาพและความปลอดภัย
  5. ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากลดคาร์บอนประกอบด้วย HDPE PP PS และ EPS สามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ ถุงพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า และฉนวนกันความร้อน ฯลฯ ไออาร์พีซี ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อประหยัดการใช้พลังงานและลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต
  6. น้ำมันแก๊สโซฮอล์
  7. น้ำมันไบโอดีเซล
  8. RMAXX L-Cement เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของซีเมนต์เพื่อให้มีการก่อรูปได้เร็ว
  9. RSS เป็นผลิตภัณฑ์ย่อยสลายได้ ซึ่งทำมาจากการผสมพลาสติกชนิด Pararene และแป้ง
  10. P301K เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปผลิตแผ่นพลาสติกสำหรับการก่อสร้างโครงการผลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ โดยลดปริมาณของส่วนผสมพลาสติกชนิด HDPE

การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งประกอบด้วยโครงการผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกโพลิสไตรีนที่ขยายตัวได้ (Expandable Polystyrene: EPS) และ โครงการ Combined Heat and Power Project (CHPI)

  1. ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกโพลิสไตรีนที่ขยายตัวได้ (Expandable Polystyrene: EPS) เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ในการผลิตฉนวนกันความร้อนในการก่อสร้างเพื่อควบคุมอุณหภูมิและช่วยประหยัดพลังงาน
  2. โครงการ CHPI ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมันเตา ซึ่งสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 260,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

โครงการควบคุมการดำเนินงาน (Operational Control)

ประกอบด้วยการลดการใช้พลังงาน การสูญเสียความร้อนภายใน และการใช้ไอน้ำในกระบวนการผลิต

โครงการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Process Improvement)

ประกอบด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ และการปรับปรุงกระบวนการผลิตไฟฟ้า