IRPC One Report TH

ภาวะตลาดผลิตภัณ์ ปิโตรเคมีและ สถานการณ์ปี 2564 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยในปี 2564 โดยรวมมีการขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้น ตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการผลิตตามสถานการณ์การ ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลงตามลำ �ดับ (2) การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ และ (3) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมถึงประเทศไทยเอง ซึ่งทำ �ให้อุปสงค์ทั้งในและ ต่างประเทศมีการฟื้นตัวได้ดี ซึ่งตลาดปลายทางที่มีการขยายตัว ได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร อุตสาหกรรมเครื่องใช้ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสุขอนามัย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ อันเนื่องมาจากพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการที่บ้านคือศูนย์รวมของทุกสิ่งอย่าง (Home Nesting) หรือการใส่ใจในสุขภาพและสุขอนามัย (Health concerned) แต่อย่างไรก็ดี ปัญหาข้อจำ �กัดในห่วงโซ่อุปทานโลก (Supply Chain Disruption) ทั้งการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเรือขนส่ง รวมถึงท่าเรือแออัด ก็เป็นอุปสรรคสำ �คัญที่ทำ �ให้ความต้องการในบางอุตสาหกรรม ลดลงอย่างมีนัยสำ �คัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการ ส่งออก เป็นต้น นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ เดลต้าที่ค่อนข้างรุนแรงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ในประเทศไทยเองที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 มีการติดเชื้อ ในพื้นที่การผลิต ภาครัฐจำ �ต้องใช้มาตรการควบคุมและจำ �กัด การเดินทางอย่างเข้มงวด ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในภาค การผลิต และทำ �ให้โรงงานจำ �นวนมากต้องหยุดการผลิตหรือลดกำ �ลัง การผลิตลง ซึ่งส่งผลกระทบให้ความต้องการเม็ดพลาสติกในช่วง เวลาดังกล่าวหดตัวลงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีความกดดันจากกำ �ลังการผลิตใหม่ที่ทยอยเพิ่ม ขึ้นเป็นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ทั้งในประเทศจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่งผลให้การแข่งขันในภูมิภาค ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ในด้านของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและเม็ดพลาสติกในปี 2564 โดยเฉลี่ยมีราคาสูงกว่าปี 2563 ตามทิศทางของราคาน้ำ �มันดิบและ แนฟทาที่เป็นวัตถุดิบหลัก และจากผลของอุปสงค์ที่ฟื้นตัวตามภาวะ เศรษฐกิจโลก รวมถึงค่าขนส่งที่พุ่งขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ในภาพรวมแล้วราคาของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และเม็ดพลาสติกในช่วงครึ่งแรกของปีจะแข็งแกร่งกว่าในช่วงครึ่ง หลัง อันมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยแรก จากอุปทานที่ลดลงชั่วคราวในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และยุโรป ในขณะที่อุปสงค์ในตลาดดังกล่าวและใกล้เคียงยังอยู่ใน ทิศทางที่ดี ส่งผลให้เกิดการจัดสรรอุปทานไปยังตลาดเหล่านี้ และ ผลักดันให้ราคาในตลาดเอเชียพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนปัจจัยที่สอง คือ กำ �ลังการผลิตใหม่ในภูมิภาคเอเชียที่ล่าช้า กว่าแผนที่กำ �หนดไว้เดิม คือเลื่อนจากปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564 เป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ซึ่งทำ �ให้ราคาในช่วงปลายปีได้รับ ความกดดันจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นเป็นจำ �นวนมาก ทั้งจากประเทศจีน เกาหลีใต้ อินเดีย และเวียดนาม โดยราคาเฉลี่ยของโพลิโพรพิลีน (PP) ในปี 2564 อยู่ที่ 1,303 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน ซึ่งเพิ่ม ขึ้นจากปี 2563 ราวร้อยละ 35 โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 อยู่ที่ 1,177 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ เมตริกตัน โพลิสไตรีนเกรดทั่วไปเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 40 อยู่ที่ 1,463 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน และ ABS ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2,386 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ประมาณร้อยละ 57 ในขณะที่แนฟทาปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า เท่าตัว (ประมาณร้อยละ 70) ราคาผลิตภัณ์ ปิโตรเคมีและวัตถุดิบ 3000 2500 2000 1500 1000 500 0 (หน่วย: เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ที่มา: ICIS Naphtha HDPE Film PP Yarn GPPS ABS ม.ค. 64 ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 มิ.ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64 .ค. 64 บริษัท ไออาร์พีซี จ� ำกัด (มหาชน) แบบแสดงรายการข้อมูลประจ� ำปี/ รายงานประจ� ำปี 2564 (แบบ 56-1 One Report) 84

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=