วาระการดำ �รงตำ �แหน่ง ของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. กรรมการตรวจสอบมีวาระการดำ �รงตำ �แหน่งตามระยะเวลาการ ดำ �รงตำ �แหน่งกรรมการบริษัทฯ (คราวละไม่เกิน 3 ปี) 2. กรรมการตรวจสอบที่พ้นจากตำ �แหน่งตามวาระ อาจได้รับการ แต่งตั้งให้ดำ �รงตำ �แหน่งใหม่ได้อีกตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร (รวมแล้วไม่เกิน 3 วาระ หรือ 9 ปีติดต่อกัน โดยไม่มีข้อยกเว้น) 3. กรณีกรรมการตรวจสอบพ้นจากตำ �แหน่งไม่ว่าในกรณีใดกรณี หนึ่ง บริษัทฯ จะต้องชี้แจงสาเหตุให้ตลาดหลักหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยทราบ 4. ในกรณีที่กรรมการตรวจสอบว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึง คราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาแต่งตั้ง กรรมการอื่นที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เป็นกรรมการตรวจสอบ รายใหม่ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่มีจำ �นวนกรรมการ ตรวจสอบไม่ครบตามที่กำ �หนด อำ �นาจและหน้าที่ตามกฎบัตร 1. สอบทานรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำ �หนด โดยกฎหมายอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และ ระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและ มีประสิทธิผล และสอบทานประสิทธิผลและความเพียงพอของ กระบวนการบริหารความเสี่ยง 3. สอบทานการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัทฯ 4. พิจารณารายการเกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำ �หนดของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุ สมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ 5. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และกำ �หนดค่าตอบแทน ผู้สอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทำ �หน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของ บริษัทฯ รวมถึงเสนอถอดถอนผู้สอบบัญชีในกรณีที่เห็นว่า ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รวมทั้งเข้าประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6. พิจารณาขอบเขตการตรวจสอบและแผนการตรวจสอบของ ผู้ตรวจสอบบัญชีและสำ �นักตรวจสอบภายใน ให้มีความสัมพันธ์ และเกื้อกูลกัน และลดความซ้ำ �ซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ ด้านการเงิน 7. ให้ความเห็นชอบแผนการตรวจสอบ รวมทั้งให้ความเห็น ประกอบการพิจารณางบประมาณและอัตรากำ �ลังของสำ �นัก ตรวจสอบภายใน 8. พิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง ผู้จัดการสำ �นักตรวจสอบ ภายใน รวมทั้งพิจารณาความเป็นอิสระของสำ �นักตรวจสอบ ภายใน 9. สอบทานความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในและการ บริหารความเสี่ยง 10. จัดทำ �รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและเปิดเผยไว้ใน รายงานประจำ �ปีของบริษัทฯ 11. มีอำ �นาจในการเข้าถึงข้อมูลของการตรวจสอบและสอบสวนผู้ที่ เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตอำ �นาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ตามระเบียบของบริษัทฯ 12. หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการ หรือการกระทำ �ซึ่งอาจมีผล กระทบอย่างมีนัยสำ �คัญต่อฐานะการเงินและผลการดำ �เนินงาน ของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการ บริษัทฯ เพื่อดำ �เนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างทันเวลา ได้แก่ (1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำ �คัญใน ระบบควบคุมภายใน (3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ �หนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษัทฯ หากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือผู้บริหารไม่ดำ �เนินการให้มีการ ปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่เหมาะสมโดยไม่มีเหตุอันควร คณะ กรรมการตรวจสอบจะต้องรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำ �ที่ ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวต่อสำ �นักงานคณะกรรมการกำ �กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทันที เมื่อได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว 13. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย บริษัท ไออาร์พีซี จ� ำกัด (มหาชน) แบบแสดงรายการข้อมูลประจ� ำปี/ รายงานประจ� ำปี 2564 (แบบ 56-1 One Report) 230
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=