ความเสี่ยงด้านการเงิน 1. ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทต่อเงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ มีผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมในระดับหนึ่งต่อรายได้และรายจ่ายของบริษัทฯ เนื่องจากรายได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี และต้นทุน วัตถุดิบซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำ �มันดิบจะได้รับและจ่ายชำ�ระเป็นเงินบาท แต่ยังคงอ้างอิงราคาตลาดโลกซึ่งกำ �หนดราคาเป็นสกุลเงินเหรียญ สหรัฐฯ (USD linked) รวมทั้งเงินกู้เพื่อโครงการลงทุนต่างๆ บริษัทฯ มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจาก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว โดยดำ �เนินการจัด โครงสร้างของเงินกู้ หุ้นกู้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ ให้มีสัดส่วน สมดุลกับรายได้ที่อ้างอิงเงินสกุลต่างประเทศ (Natural Hedge) โดยการบริหารหนี้สินสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม กับรายได้ที่อิงกับสกุลเงินต่างประเทศ ทั้งนี้ การดำ �เนินการ บริหารความเสี่ยงฯ ดังกล่าวอยู่ภายใต้การกำ �กับดูแล อนุมัติ และ ติดตามผลจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เป็นไปตาม นโยบายและลดผลกระทบในระดับที่บริษัทฯ ยอมรับได้ อีกทั้ง การทำ �สัญญาซื้อและขายเงินตราต่างประเทศ (FX Swap) พร้อมกันของ รายได้จากการส่งออกกับรายจ่ายค่าวัตถุดิบที่เป็นสกุลเงินเหรียญ สหรัฐฯ เพื่อลดภาระส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยน เสนอซื้อและ เสนอขาย มีส่วนช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยนด้วย 2. ความเสี่ยงการจัดหาเงินทุนและ สภาพคล่อง บริษัทฯ มีแผนการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมี ภาระจ่ายชำ �ระคืนเงินกู้และหุ้นกู้ที่ครบกำ �หนดชำ �ระ บริษัทฯ จึงมี ความจำ �เป็นในการจัดหาเงินทุนให้เพียงพอ ทันตามกำ �หนดเวลา ด้วยต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม ซึ่งความสามารถในการจัดหา เงินทุนจากภายนอกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ผลประกอบการ ฐานะการเงิน อันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ ภาวะอุตสาหกรรม ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจและภาวะตลาดเงิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น บริษัทฯ อาจมีความเสี่ยง ด้านสภาพคล่องทำ �ให้ไม่สามารถจัดหาเงินทุนหมุนเวียนได้อย่าง เพียงพอ บริษัทฯ มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยจัดหาเงินทุน ให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ มีการจัดโครงสร้างเงินทุนเพื่อให้ อัตราส่วนทางการเงินที่สำ �คัญอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีการกำ �กับ ดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งติดตามปัจจัยที่มีผลกระทบหรือที่เกี่ยวข้อง กับการจัดหาเงินทุน ซึ่งทำ �ให้บริษัทฯ สามารถจัดหาเงินทุนได้ ตามแผนด้วยต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม ปัจจุบันบริษัทฯ มีวงเงินกู้จากสถาบันการเงิน ประกอบด้วยวงเงินกู้ระยะสั้นใช้เป็น เงินทุนหมุนเวียนจำ �นวน 21,635 ล้านบาท และวงเงินตามสัญญา กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทฯ กับ บมจ. ปตท. โดยเป็นวงเงินกู้จำ �นวน 10,000 ล้านบาท และวงเงินให้กู้จำ �นวน 1,500 ล้านบาท จึงทำ �ให้การ บริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทฯ มีความคล่องตัว และให้มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงด้านโครงการลงทุน บริษัทฯ ได้ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่สำ �คัญ คือ โครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของน้ำ �มันดีเซลจาก มาตรฐานยูโร 4 ให้เป็นมาตรฐานยูโร 5 ตามกำ �หนดของรัฐบาลที่ จะเริ่มบังคับใช้ในปี 2567 อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ บริษัทฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมสำ �หรับการบริหารโครงการและ มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้ 1) กระบวนการจัดหาผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้าง โครงการขนาดใหญ่ รวมถึงที่ปรึกษาบริหารโครงการที่มีความรู้ และประสบการณ์ เพื่อให้ดำ �เนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนที่ วางไว้ 2) จัดเตรียมแผนการตลาดและการขายรองรับกับปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตออกมาทั้งหมดได้อย่างเพียงพอ มีช่องทาง การขายที่เหมาะสม สามารถจำ �หน่ายได้และมีตลาดรองรับ เพียงพอ 3) จัดเตรียมทรัพยากรด้านต่างๆ เช่น ด้านบุคลากร ด้านการเงิน ด้านพื้นที่ก่อสร้างและการจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภค เพื่อ สนับสนุนและผลักดันโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้อย่าง มีประสิทธิภาพ 4) มีระบบและกระบวนการในการติดตามความคืบหน้าในการ ดำ �เนินงานอย่างใกล้ชิด และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าง รวดเร็ว มีการรายงานต่อคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งทำ �ให้มั่นใจ ว่าการดำ �เนินโครงการสามารถบรรลุเป้าหมายในทุกมิติ บริษัท ไออาร์พีซี จ� ำกัด (มหาชน) แบบแสดงรายการข้อมูลประจ� ำปี/ รายงานประจ� ำปี 2564 (แบบ 56-1 One Report) 104
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=