4) ทำ �สัญญาซื้อขายตราสารอนุพันธ์โดยมีการกำ �หนดเป้าหมายของ ราคา ปริมาณ และระยะเวลาในการดำ �เนินการบริหารความเสี่ยง ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนธุรกิจ ภายใต้การกำ �กับดูแล ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทานและ ด้านการเงิน (Hedging Committee) และคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง (Risk Management Committee) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ บริษัทฯ ได้ดำ �เนินการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของ กระบวนการผลิตและกระบวนการสนับสนุนการผลิตที่เป็นส่วน สำ �คัญของบริษัทฯ และมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อาจ ทำ �ให้สูญเสียโอกาสในการดำ �เนินธุรกิจ ประกอบด้วย ความเสี่ยง ด้านความปลอดภัยในชีวิต สิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงด้านชุมชน เป็นต้น โดยมีแนวทางในการบริหารความเสี่ยง ดังนี้ 1) ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานจากการเกิด อุบัติเหตุต่างๆ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำ �ให้เกิดการ สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน กระทบต่อภาพลักษณ์ และกระทบ ต่อผลประกอบการ บริษัทฯ ได้รณรงค์ให้เกิดวัฒนธรรมด้าน ความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง บังคับใช้กฎระเบียบความปลอดภัย อย่างเคร่งครัด สร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยผ่าน One Day Safety atWork การนำ �กระบวนการด้านความปลอดภัยมาใช้ ในการออกแบบและปฏิบัติงาน (Process Safety Management) นำ �ระบบจัดการอุบัติการณ์ (Incident Management System: idMS) มาใช้เพื่อจัดทำ �ฐานข้อมูลและวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ของการเกิดอุบัติการณ์ต่างๆ เป็นต้น 2) ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของอุปกรณ์ เครื่องจักรในการผลิต สินค้า (Plant Reliability) ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่าง ราบรื่น ไม่เกิดการหยุดการผลิตโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า รวมถึงผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรม ไออาร์พีซี โดยแนวทางในการลดความเสี่ยง บริษัทฯ ได้ดำ �เนิน การปรับปรุงพัฒนากระบวนการตรวจสอบ การควบคุมการ จัดหาผู้รับเหมา (Contractor Management) รณรงค์โปรแกรม Zero Unplanned Shutdown พัฒนากระบวนการสอบทวนการ เลือกใช้วัสดุในงานโครงการ และกลไกป้องกันในกระบวนการ ผลิต เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายจากการใช้งาน รวมถึง การตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในจุดเสี่ยงต่างๆ (Plant Health Check) ซึ่งดำ �เนินการมาอย่างต่อเนื่อง 3) ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการปล่อยสารระเหย ไฮโดรคาร์บอนต่างๆ เช่น สารเบนซีน เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและชุมชนรอบเขตประกอบการฯ จนอาจเกิดการร้องเรียน ฟ้องร้อง หรือเกิดข้อพิพาทได้ บริษัทฯ ได้จัดทำ �แนวทางการลดความเสี่ยงโดยกำ �หนดให้มีการบริหาร จัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วทั้งองค์กร ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ระบบการจัดการพลังงาน ISO 5001 รวมถึง การปฏิบัติตามและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมาย ข้อกำ �หนด และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 4) ความเสี่ยงด้านชุมชนและสังคมที่อาจเกิดจากความเห็นต่าง ของชุมชนต่อการดำ �เนินงานของบริษัทฯ ทำ �ให้เกิดการร้องเรียน ฟ้องร้อง หรือเกิดข้อพิพาท หรืออาจเกิดการชุมนุมต่อต้าน การดำ �เนินธุรกิจซึ่งบริษัทฯ ได้ดำ �เนินมาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่นการสื่อสาร การให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนรอบเขตประกอบการฯ กับบริษัทฯ การให้การช่วยเหลือ ต่อสังคมโดยการกำ �หนดแนวทางการดำ �เนินธุรกิจด้วยความ รับผิดชอบต่อสังคม 5. ความเสี่ยงด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจที่เกิดจากภัยคุกคาม ต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ การถูกโจมตีทางไซเบอร์ การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นวงกว้าง ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้ส่ง ผลกระทบให้กระบวนการทางธุรกิจหยุดชะงัก ดังนั้น เพื่อเป็น การเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบจากการหยุดชะงักของ กระบวนการทางธุรกิจ บริษัทฯ ได้นำ �ระบบการบริหารความต่อเนื่อง ทางธุรกิจ (Business Continuity Management System: BCMS) มาใช้ตามมาตรฐานสากล ISO 22301 Business Continuity Management System มาใช้เป็นแนวทาง ในการจัดทำ �การนำ �ไปปฏิบัติ การพัฒนาแผนความต่อเนื่อง ทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) เพื่อรองรับ สถานการณ์วิกฤตและเหตุฉุกเฉินต่างๆ รวมถึงมีการฝึกซ้อม เป็นประจำ �ทุกปี การบริหารจัดการความเสี่ยง บริษัท ไออาร์พีซี จ� ำกัด (มหาชน) 103
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=