IRPC Annual Report 2023

รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไออาร์พีซี จำ �กัด (มหาชน) ประกอบด้วยกรรมการอิสระ 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งด้าน กฎหมาย ด้านบัญชีการเงิน ด้านการบริหาร และด้านสารสนเทศ และนวัตกรรม คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัทฯ และตามกฎบัตรของคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้องกับประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และแนวปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการกำ �กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ โดยส่งเสริมให้บริษัทฯ มีการกำ �กับดูแล กิจการที่ดี มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำ �เนินธุรกิจ รวมทั้งมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและระบบการตรวจสอบ ภายในที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถสร้าง ความเชื่อมั่นและมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร โดยคำ �นึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย อย่างเท่าเทียมกัน ในปี 2566 คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง และมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและ คณะกรรมการกำ �กับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนอีก 1 ครั้ง กรรมการ ทุกท่านได้เข้าร่วมประชุมครบถ้วนร้อยละ 100 โดยเป็นการประชุม ร่วมกับฝ่ายบริหาร ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชี ในวาระ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถสรุปสาระสำ �คัญในการปฏิบัติหน้าที่ ได้ดังนี้ 1. สอบทานรายงานทางการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานข้อมูลที่สำ �คัญของงบการเงิน รายไตรมาสและงบการเงินประจำ �ปีของบริษัทฯ รวมถึงรายการ ระหว่างกันและรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ร่วมกับผู้สอบบัญชีและผู้บริหารในสายบัญชีและการเงิน ในวาระการพิจารณางบการเงิน พร้อมทั้งรับฟังคำ �ชี้แจงและ การตอบข้อซักถามจากผู้สอบบัญชีและฝ่ายจัดการ เพื่อให้มั่นใจว่า รายงานทางการเงินมีความถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง มีการเปิดเผยหมายเหตุประกอบในงบการเงินอย่าง เพียงพอ และข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ รายงานทางการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบจึงได้ให้ความ เห็นชอบต่อรายงานทางการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานและ ตรวจสอบแล้ว และรายงานความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้จัดให้มีการประชุมร่วมกับ ผู้สอบบัญชีเป็นการเฉพาะ โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วม เพื่อหารือ ผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับขอบเขตการตรวจสอบแผนปฏิบัติงาน การตรวจสอบบัญชี ข้อเสนอแนะที่พบจากการตรวจสอบ รวมทั้ง ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอบบัญชี ความเสี่ยง ที่สำ �คัญ และเรื่องสำ �คัญจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี (Key Audit Matters: KAM) 2. สอบทานการบริหารความเส่� ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานกระบวนการบริหารความเสี่ยง จากรายงานผลการตรวจสอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชี และรับทราบรายงานผลการบริหารความเสี่ยง ขององค์กรที่มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ทำ �หน้าที่กำ �กับดูแลเรื่องความเสี่ยง โดยเฉพาะ ซึ่งครอบคลุมการอนุมัตินโยบายและกรอบการบริหาร ความเสี่ยง การติดตามการบริหารความเสี่ยง การอนุมัติมาตรการ จัดการความเสี่ยง และมีการสรุปรายงานผลการบริหาร ความเสี่ยงขององค์กรให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบ อย่างสม่ำ �เสมอ ซึ่งทำ �ให้เชื่อมั่นว่าบริษัทฯ มีระบบการบริหาร ความเสี่ยงที่เหมาะสมและเพียงพอกับสภาพการดำ �เนินธุรกิจ และสามารถบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ 3. สอบทานระบบการควบคุมภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานความเพียงพอและเหมาะสม ของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ เพื่อให้เชื่อมั่นว่า การดำ �เนินงานของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำ �หนดไว้ โดยพิจารณาจากรายงานผลการตรวจสอบของหน่วยงาน ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี และรายงานผลการปฏิบัติตาม ข้อเสนอแนะของงานตรวจสอบ รวมถึงรายงานผลการประเมิน ความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในและผลการดำ �เนินงาน ระบบการควบคุมภายในที่ดำ �เนินการโดยหน่วยงานควบคุม ภายใน ซึ่งไม่พบประเด็นหรือข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำ �คัญที่ ส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์หลักของบริษัทฯ ทำ �ให้เชื่อมั่น อย่างสมเหตุสมผลว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการดำ �เนินธุรกิจ 4. กำ �กับดููแลงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้กำ �กับดูแลให้หน่วยงานตรวจสอบ ภายในมีความเป็นอิสระ เที่ยงธรรม มีการรายงานตรงต่อ คณะกรรมการตรวจสอบตามที่ได้ระบุไว้ในกฎบัตรของ การตรวจสอบภายใน ซึ่งได้มีการทบทวนเป็นประจำ �ทุกปี 54 บริิษััท ไออาร์์พีีซีี จำำ �กััด (มหาชน) รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=