IRPC Annual Report 2023

ในภาพรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการกำ �หนดคุณสมบัติ ของบุคลากรแต่ละตำ �แหน่งอย่างชัดเจน รวมถึงการกำ �หนดแผน สืบทอดตำ �แหน่งงานที่สำ �คัญ (Successor Plan) โดยมีการจัด โครงการพัฒนาผู้บริหาร (Leadership Development Program) พร้อมทั้งกำ �หนดกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างมี มาตรฐานและเป็นระบบ รวมถึงมีการติดตามผลของการดำ �เนินงาน อย่างสม่ำ �เสมอ เพื่อใช้ในการพิจารณาให้รางวัลอย่างเป็นธรรม และ สร้างแรงจูงใจต่อบุคลากรในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ผลักดันแนวทาง “ความรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงและ การควบคุมภายในที่ดีตามแนวทางป้องกัน 3 ระดับ (Three Lines of Defense)” ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยส่งเสริม ผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานและหัวหน้างานในแต่ละ หน่วยงาน (First Line) หน่วยงานควบคุมภายใน หน่วยงานกำ �กับ ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบต่างๆ และหน่วยงานสนับสนุน อื่นๆ (Second Line) รวมถึงสำ �นักงานตรวจสอบภายใน (Third Line) ใช้แนวทางดังกล่าวในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ การประเมินความเสี่ยง กำ �หนดกิจกรรมการควบคุม ติดตาม และประเมินผล ซึ่งผู้ทำ �หน้าที่เป็น First Line ถือว่าเป็นผู้ที่มี บทบาทสำ �คัญที่สุดที่ทำ �ให้แนวทางดังกล่าวประสบความสำ �เร็จและ มีประสิทธิภาพ 2. การประเมินความเส่�ยง (Risk Assessment) คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารให้ความสำ �คัญในการบริหาร ความเสี่ยง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการนำ �พาองค์กรสู่เป้าหมาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee: RMC) แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ บริษัทฯ และจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุม ภายใน (Risk Management and Internal Control Committee: RMCC) โดยมีรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์ แผนและ พัฒนาธุรกิจองค์กร เป็นประธานฯ เพื่อกำ �กับดูแลการบริหาร ความเสี่ยงและการควบคุมภายในของบริษัทฯ ให้เป็นไปอย่าง เหมาะสมและมีประสิทธิผล รวมถึงการนำ �การบริหารความเสี่ยงไป ปฏิบัติอย่างจริงจังทั่วทั้งองค์กร โดยมีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้ บริษัทฯ ได้นำ �กรอบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO 31000 (2018) และ COSO Enterprise Risk Management (2017) รวมถึง กำ �หนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง เพื่อเป็นแนวทางบริหาร จัดการความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ ของบริษัทฯ โดยได้ดำ �เนินการกำ �หนด Risk Appetite Statement เพื่อเป็นกรอบในการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร ซึ่งประกอบด้วย การบริหารความเสี่ยงในระดับองค์กร (Corporate Risk) การบริหาร ความเสี่ยงในระดับหน่วยปฏิบัติการ (Functional Risk) รวมถึงการ บริหารความเสี่ยงของโครงการต่างๆ (Projects Risk) โดยคำ �นึง ถึงเป้าหมายขององค์กร การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและ ภายนอก รวมถึงโอกาสที่จะเกิดการทุจริตและคอร์รัปชัน พร้อมทั้ง กำ �หนดแนวทางจัดการความเสี่ยง มีกระบวนการทบทวนความเสี่ยง และติดตามการดำ �เนินงานตามแผนจัดการความเสี่ยงอย่าง สม่ำ �เสมอ โดยถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกหน่วยงานใน การบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ บริษัทฯ กำ �หนดให้มีการรายงานสรุปผลการดำ �เนินการบริหาร ความเสี่ยงระดับองค์กรต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและ การควบคุมภายในทุกไตรมาสและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทุกเดือน สำ �หรับการบริหารความเสี่ยงระดับหน่วยปฏิบัติการ จะมีการรายงานสรุปผลต่อการประชุมแต่ละสาย/สายงาน สำ �หรับ ความเสี่ยงที่มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่สำ �คัญ (Star KPI & Risk) จะมีการรายงานสรุปผลตัวชี้วัดและการบริหารความเสี่ยงต่อ การประชุมผู้บริหารระดับฝ่ายขึ้นไป (VP Meeting) เป็นรายไตรมาส บริษัทฯ ได้นำ �ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ตามมาตรฐานสากล ISO 22301 (2019) มาใช้และได้รับการรับรองจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวง อุตสาหกรรม (สรอ.) เพื่อการบริหารจัดการ เมื่อต้องเผชิญ เหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้การดำ �เนินธุรกิจเป็นไป อย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น และรักษาภาพลักษณ์ ชื่อเสียงขององค์กรมาใช้ในการบริหารจัดการ 269 การควบคุมภายในและรายการระหว่างกัน แบบแสดงรายการข้้อมูลประจำำ �ปี/ รายงานประจำำ �ปี 2566 (แบบ 56-1 One Report)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=