IRPC Annual Report 2023

สภาพคล่่องและโ รงสร้้งเงินทุน อัตราส่วนสภาพคล่องในปี 2566 เท่ากับ 1.05 เท่า ลดลง 0.16 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ 1.14 เท่า เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนลดลง ทั้งนี้ บริษัทฯ มีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำ �เนินธุรกิจ ณ สิ้นปี 2566 บริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิ ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 0.86 เท่า เทียบเท่ากับปี 2565 ทั้งนี้บริษัทฯ สามารถชำ �ระหนี้สินได้ตามกำ �หนดและสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข การกู้ยืมเงินได้ครบถ้วน ปั จััยสำ �คััญอ่� นที่่�ะมี ลต่อฐานะการเงินและ การดำ �เนินงานในอน ต แ วโน้้มธุุรกิจปีี 2567 1. ธุุรกิจปิิโตรเลียม ทิศทางและแนวโน้มราคาน้ำ �มันดิบ ปี 2567 คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำ �มันของโลกอยู่ที่ประมาณ 104 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น ประมาณ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2566 ที่อยู่ที่ประมาณ 102 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจปิโตรเลียมเผชิญความท้าทายหลายประการ อาทิ สถานการณ์วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน ซึ่งคาดว่าจะยังคงส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำ �มันโดยรวม ประกอบกับมีกำ �ลังการผลิตใหม่จากจีนและตะวันออกกลางที่เริ่ม ดำ �เนินการผลิตในช่วงปลายปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะกดดันกำ �ไรขั้นต้นจากการกลั่น (Gross Refining Margin: GRM) นอกจากนี้ อุปทาน น้ำ �มันดิบจากประเทศนอกกลุ่มโอเปกและพันธมิตรอยู่ในระดับสูง ขณะที่กำ �ลังการผลิตสำ �รอง (Spare Capacity) ของกลุ่มโอเปกและ พันธมิตรมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน โดยคาดว่า Spare Capacity ส่วนดังกล่าวจะอยู่เหนือระดับ 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ การปรับลดการผลิตน้ำ �มันดิบของกลุ่มโอเปกและพันธมิตรทำ �ได้ยากขึ้น สำ �หรับราคาน้ำ �มันดิบดูไบในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 75-85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับราคาเฉลี่ยทั้งปี 2566 ที่ประมาณ 82 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปัจจัยหลักที่คาดว่าจะมีผลต่อราคาน้ำ �มันดิบ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหากมีการปรับลดลงจะสนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำ �มัน ขณะที่การผลิตน้ำ �มันดิบของสหรัฐฯ ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 13 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาน้ำ �มันดิบ นอกจากนี้ คาดว่าความขัดแย้งในตะวันออกกลางจะยังคง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออุปทานของน้ำ �มันดิบ 2. ธุุรกิจปิิโตรเคมีี ทิศทางและแนวโน้มราคาปิโตรเคมี ปี 2567 คาดอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา จากกำ �ลังการผลิตใหม่ที่ทยอยเพิ่มขึ้นในประเทศจีน ขณะที่ความต้องการของตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ �กว่า โดยความต้องการ ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในปี 2567 คาดจะเติบโตประมาณร้อยละ 2-3 หลังจากผ่านพ้นฐานต่ำ �ในปี 2566 ซึ่งจะเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็น ค่อยไป ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลังของปีอาจเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของความต้องการที่ชัดเจนขึ้น หลังเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่งผลให้ธนาคารกลางในหลายประเทศอาจทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค ให้มากขึ้น ขณะที่ความต้องการอุตสาหกรรมปลายทางคาดทยอยกลับมาฟื้นตัว อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ ยังคงได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัญญาณขาขึ้น ของวัฏจักรสินค้าที่เริ่มปรากฏนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 อีกทั้งภาคการส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่คาดว่าจะมีแนวโน้ม 186 คำำ �อธิิบายและการวิิเ ราะห์์ของฝ่่ายจััดการ บริษััท ไออาร์พีีซีี จำำ �กัด (ม ชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=