IRPC Annual Report 2023

• ดำ �เนินการตามมาตรฐาน ISO 27001: Information Security Management System ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบบริหารจัดการ ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ มีการดำ �เนินการที่สอดคล้อง ตามข้อกำ �หนด ข้อกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง • ดำ �เนินการฝึกซ้อมแผนดำ �เนินการกู้คืนระบบในกรณีที่ระบบล่ม (Disaster Recovery Plan) ซึ่งอาจเกิดจากการถูกโจมตีจาก ภายนอก อุปกรณ์ชำ �รุดเสียหายหรือภัยพิบัติต่างๆ เป็นประจำ � ทุกปี • มีศูนย์ดูแลความปลอดภัยองค์กร (Security Operation Center: SOC) ที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบการเข้าถึงระบบต่างๆ ขององค์กร หรือมีการบุกรุกจากภายนอกหรือไม่ และมีกระบวนการ ตอบสนองต่อการบุกรุกได้อย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับการสร้าง องค์ความรู้ให้กับบุคลากรในเรื่องการป้องกันอย่างมี ประสิทธิภาพ • มีการทดสอบ Phishing Mai l กับพนักงานในบริษัทฯ อย่างสม่ำ �เสมอ เพื่อติดตามความตระหนักรู้ของพนักงาน ในบริษัทฯ รวมไปถึงได้มีการจัดอบรมให้แก่พนักงานที่ตกเป็น เหยื่อจากการทดลอง ให้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ 2. ความเสี่่� ยง ากการเปล่� ยนแปลง กฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ากการเปล่� ยนแปลง าพภููมิอากาศ (Climate Change Risk Regulatory Risk) การประชุม COP28 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมี การบรรลุข้อตกลง “เปลี่ยนผ่านออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ในระบบพลังงาน ในทางที่ยุติธรรม เป็นระเบียบ และเท่าเทียม ในทศวรรษที่สำ �คัญยิ่ง (ค.ศ. 2023-2033) เพื่อบรรลุเป้าหมาย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ตาม ข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด” ส่งผลให้ประเทศไทยอาจมี การเร่งดำ �เนินแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศระดับชาติ ภายใต้กลไก “การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำ �หนด” หรือ Nationally Determined Contributions (NDCs) ตามเป้าหมาย Net Zero Emission ในปี 2608 บริษัทฯ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจที่มีส่วนรับผิดชอบ ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าว และมีส่วนใน การดำ �เนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระหว่างประเทศและเป้าหมาย ประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ บริษัทฯ กำ �หนด แนวทางการบริหารความเสี่ยงมีดังนี้ • ติดตามกฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายจากภาครัฐ ที่อาจ มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมถึงทบทวนกลยุทธ์เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้สอดคล้องกับนโยบายจากภาครัฐ • ลดและใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าหมาย Energy Intensity Index (EII) ที่ Top Quartile • เปลี่ยนแหล่งของพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานทดแทนและ เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น การติดตั้งทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ � (Floating Solar) ขนาด 21 เมกะวัตต์ ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า เสริมความมั่นคงให้กับเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี โดยมีแผนการลงทุนเพื่อขยายเพิ่มขึ้นอีก 37.2 เมกะวัตต์ • ปรับเปลี่ยน Business Portfolio มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจผ่าน โครงการคาร์บอนต่ำ �ผ่านโครงการใหม่หรือธุรกิจเดิม • ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีให้ สอดคล้องกับแนวโน้มตลาดที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และลดการใช้รถยนต์สันดาปภายในที่จะกระทบกับยอดขาย น้ำ �มันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ ในอนาคต • ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circularity Economy) โดยการนำ � ผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ • ดำ �เนินโครงการปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยร่วมกับ โครงการแม่ฟ้าหลวงและกลุ่ม ปตท. จำ �นวน 20,000 ไร่ • การศึกษาการนำ �เทคโนโลยีการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มาใช้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 103 การบริหารจััดการความเสี่่� ยง แบบแ ดงรายการข้้อมูลประจำำ �ปี/ รายงานประจำำ �ปี 2566 (แบบ 56-1 One Report)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=