นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งในด้านความสะดวกสบายและกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไออาร์พีซี ใส่ใจถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเป็นอยู่ที่ดีของสังคม โดยยึดแนวปฎิบัติที่ดี และดำเนินการบริหารจัดการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และพัฒนาระบบสารสนเทศตามมาตรฐานสากล
ไออาร์พีซี มุ่งเน้นที่จะสร้างความแข็งแกร่งด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ไออาร์พีซี ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่สังคม นอกจากนี้ ยังได้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในช่วงการแพร่ระบาดของโรค Covid-19
ไออาร์พีซี ดำเนินงานตามกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ (Innovation Excellence) เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน เน้นการดำเนินการบริหารจัดการใน 8 ด้าน รวมถึงการยกระดับห้องปฎิบัติการวิเคราะห์ทดสอบมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Analytical Lab Excellence) ทั้งนี้ ห้องปฎิบัติการวิเคราะห์ทดสอบของไออาร์พีซี ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฎิบัติการวิเคราะห์เอกชน ที่สามารถให้บริการทดสอบตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อม
ไออาร์พีซี ยังคงเน้นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products) และผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products) ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต ไออาร์พีซี มีเป้าหมายที่จะยกระดับการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เทียบเคียงกับบริษัทชั้นนำและสามารถแข่งขันในตลาดสากล ภายในปี 2568 โดยมีวิสัยทัศน์ในการเพิ่มมููลค่าและสร้างยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่ร้อยละ 25 ของยอดขายผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกทั้งหมด และกำไรส่วนเพิ่มของผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่ที่ร้อยละ 25 ของราคาขายของผลิตภัณฑ์ การจัดการด้าน New S-Curve ผ่านการดำเนินงานด้านนวัตกรรมเปิด (Open Innovation) รวมไปถึงเป้าหมายในการใช้ความรู้ของบุคลากรในการเพิ่มรายได้และต่อยอดทางธุรกิจ ทั้งนี้ ไออาร์พีซี มีกลยุทธ์กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Industrial Focus Strategy) ที่แบ่งการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ไออาร์พีซี ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development Committee PDC) โดยมีการประชุมทุกเดือนเพื่อกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และทิศทางการบริหารผลิตภัณฑ์ตามแผนธุรกิจของไออาร์พีซี นอกจากนี้ คณะกรรมการดังกล่าวยังมีการกลั่นกรองและจัดลำดับผลิตภัณฑ์ตามความสำคัญในตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร
ไออาร์พีซี กำหนดกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา ปี 2560 – 2563 เพื่อส่งเสริมให้งานวิจัยขององค์กรอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยกลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย ปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้
ภายใต้หลักการการสร้างความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและการผลิต (Innovation and Operational Excellence IOE) ไออาร์พีซี มีวิสัยทัศน์ที่จะมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (IOE Moving Forward Together for the Excellence) ภายในปี 2568 ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
การสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนทิศทางความสำเร็จขององค์กร โดยทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการและองค์กร
กระบวนการนวัตกรรม (Innovation Procedure)
กระบวนการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ที่รวบรวมจากพนักงานของไออาร์พีซี รวมถึงการร่วมมือกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กร แนวคิดเหล่านั้นจะได้รับการประเมินถึงโอกาสที่จะได้ประโยชน์และการพัฒนาแนวคิดเพื่อการพาณิชย์ในขั้นตอนต่อไป
นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)
การสร้างนวัตกรรมเป็นกระบวนการที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ และการมีความคิดสร้างสรรค์ ไออาร์พีซี บริหารจัดการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation Management) ผ่านแผนแม่บทผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี (Product & Technology Roadmap) โดยมุ่งเน้นการสรรหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมากำหนด Portfolio ของผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางนวัตกรรมแบบเปิด โดยการร่วมวิจัยกับองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) รวมถึงลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี
ไออาร์พีซี บริหารจัดการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจ New S-Curve ผ่านการดำเนินงานด้านนวัตกรรมแบบเปิด และนำความรู้ของบุคลากรมาต่อยอดทางธุรกิจ ทั้งนี้ กลยุทธ์ New S-Curve ถูกกำหนดเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในระยะยาว และนวัตกรรมแบบเปิดและเทคโนโลยีเน้นที่จะตอบโจทย์การเติบโตของธุรกิจในระยะสั้นถึงกลาง
ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยได้มีการร่วมมือกับสายงานการตลาด วิศวกรรมการผลิต และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า ไออาร์พีซี ได้พัฒนาระบบวิจัยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้เพิ่มนักวิจัยที่มีความสามารถ เพิ่มศักยภาพของนักวิจัย และปรับปรุงอุปกรณ์งานวิจัย ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดต้นทุน เพิ่มกำไรส่วนเพิ่ม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เติบโตอย่างยั่งยืน และปรับเปลี่ยนองค์กรตามสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ภายใต้แนวทางทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ไออาร์พีซี ใช้โมเดล Eco Solution ในการบริหารจัดการแบบปิด (Closed Loop) โดยนำเม็ดพลาสติกไปแปรรูปเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต ในกระบวนการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพอย่างถูกวิธี ไออาร์พีซี ได้สร้าง Plastic Waste Platform เพื่อรวบรวมข้อมูลขยะพลาสติกจากแหล่งผลิตจากแต่ละโรงงานทั้งของไออาร์พีซี และลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล และส่งผลให้บริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการลดค่าใช้จ่าย ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเพิ่มมูลค่าในขยะพลาสติก ทั้งนี้กระบวนการของโมเดล Eco Solution เริ่มจาการเก็บขยะพลาสติกผ่านเครือข่ายของเสีย จากกระบวนการผลิต (Post Industrial Recycle: PIR) และพลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Post-Consumer Recycle) มีการคัดขยะพลาสติกและส่งไปเข้ากระบวนการ Gasification/ Pyrolysis หรือ นำกลับมาใช้ใหม่ โดยขยะพลาสติกจะถูกนำไปรีไซเคิลตามประเภทของวัสดุ (PP, HDPE, PS) หรือ Upcycle เพื่อทำเป้นวัสดุใหม่ ได้แก่ ผนังกั้น ฉากกั้น เป็นต้น นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีเป้าหมายในการเพิ่มโครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสการต่อยอดธุรกิจ และนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิลคอมพาวด์ อาทิ PP Recycle Compound
ไออาร์พีซี ร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือ “นำประเทศสู่สังคม Zero Plastic Waste” เพื่อร่วมกันบริหารจัดการขยะพลาสติกจากแหล่งกำเนิดโดยไม่ให้มีการนำ Waste Polymer ออกไปสู่การกำจัด (Disposal) ตลอดห่วงโซ่อุุปทาน ซึ่งครอบคลุุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งนี้ ไออาร์พีซี เป็นบริษัทแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง Zero Plastic Waste in Production Process ซึ่งเป็นการยกระดับอุุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศ และเป็นแม่แบบให้แก่ประเทศ ในกลุ่มอาเซียนในอนาคต
ไออาร์พีซี มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการดำเนินงานด้านสารสนเทศ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ ขยายเครือข่าย มีมาตรการป้องกันในระดับสูง และสนับสนุนให้มีการนำแอปพลิเคชันเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินงาน ไออาร์พีซี ได้ขยายและปรับปรุงระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบ Continuous Control Monitoring and Auditing System (CCMS) เพื่อสร้างระบบควบคุมภายในและดูแลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้ ระบบสารสนเทศของไออาร์พีซี ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลและ ISO/IEC 27001:2013
การคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) หมายถึงการคุกคามที่กระทบต่อระบบเครือข่าย และเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่มีความประสงค์ร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล เช่น มัลแวร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไออาร์พีซี ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว จึงกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร
คณะกรรมการความเสี่ยง มีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยมีผู้อำนวยการของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นผู้นำของคุณกรรมการ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในสายงานบริหารและพัฒนาศักยภาพองค์กร เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด
ไออาร์พีซี พัฒนาและปรับปรุงนโยบายด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศปี 2562 โดยครอบคลุมถึงปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้
หลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ครอบคลุมถึงการคุกคามทางไซเบอร์และผลกระทบต่อธุรกิจ พนักงานไออาร์พีซี ได้เข้าการอบรมด้านข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy) ซึ่งจัดโดยสำนักกิจการองค์กร (Corporate Affair Office)
นโยบายการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ กำหนดแนวทางปฎิบัติการทั้งแก่พนักงานและบุคคลที่ไม่ใช่พนักงาน โดยกิจกรรมที่น่าสงสัย อาทิ ความผิดปกติของระบบ SAP, Phishing Mail และการแฮกข้อมูล จะต้องถูกรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือ IT HELPDESK
ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของข้อมูลทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการประเมินผลการดำเนินงานของพนักงาน ในกรณีพบเหตุการณ์ดังกล่าว จะมีการลงโทษทางวินัย นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้จัดตั้งตัวชี้วัด (KPI) ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับพนักงาน IT เพื่อป้องกันเหตุการณ์การคุกคามทางไซเบอร์
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้