จรรยาบรรณธุรกิจและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
“ไออาร์พีซียึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเน้นการดำเนินงานที่เป็นเลิศ มีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปราศจากการทุจริตหรือคอร์รัปชั่น”
เป้าหมาย: |
ผลการดำเนินงาน: |
ไม่มีกรณีการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
ไม่พบกรณีการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้องในปี 2566 |
จรรยาบรรธุรกิจและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นเสาหลักสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และชี้นำการตัดสินใจอย่างมีจริยธรรมและเสริมสร้างความยั่งยืน การยึดมั่นในจรรยาบรรณธุรกิจช่วยเพิ่มความไว้วางใจ ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ รวมถึงรับประกันการดำเนินธุรกิจที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และระเบียบ โปร่งใส และมีความรับผิดชอบ อีกทั้งยังเสิมสร้างวัฒนธรรมทางจริยธรรมภายในองค์กรและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ซึ่งส่งผลกระทบในทางบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงานและความภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กร
ด้วยการดำเนินธุรกิจของไออาร์พีซีที่เกี่ยวข้องกับกับผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เป็นเลิศ มีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปราศจากการทุจริตหรือคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ ไออาร์พีซีกำหนดให้จรรยาบรรธุรกิจและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นองค์ประกอบสำคัญของนโยบายการกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเข็มทิศด้านจริยธรรมชี้นำในทุกกิจกรรมทางธุรกิจและการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมีมาตรฐานการดำเนินงานที่ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
นโยบาย
เพื่อส่งเสริมนโยบายและคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานหลักด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไออาร์พีซีจึงได้จัดทำนโยบายอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ นโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ (Compliance Policy) เพื่อเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะยีดมั่นในจรรยาบรรณทางธุรกิจและความซื่อสัตย์ในทุกมิติของการบริหารจัดการ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จาก [Link]
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จาก [Link] และ [Link]
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ทำหน้าที่ติดตามและดูแลการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Good Governance, Risk Management and Compliance Management; GRC)
ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มีระบบควบคุมภายใน (Internal Control) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล ไออาร์พีซีกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ติดตามการดำเนินงานของบริษัทฯ ตลอดจนการปฏิบัติตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการตรวจสอบภายนอก เพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบภายใต้การกำหนดของคณะกรรมการบริษัทฯ
ด้วยความเชื่อมั่นว่าจรรยาบรรณทางธุรกิจจะเสริมสร้างความไว้วางใจต่อบริษัทฯ ไออาร์พีซีจึงยึดมั่นในจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจในด้านความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ควบคู่ไปกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน
ค่านิยมขององค์กร หลักการ และหลักปฏิบัติด้านจรรยาบรรณทางธุรกิจได้ถูกกำหนดไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ โดยไออาร์พีซีตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และได้กำหนดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งอธิบายถึงนิยามและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน ทั้งนี้ จรรยาบรรณทางธุรกิจของไออาร์พีซีประกอบด้วยประเด็นหลัก ดังนี้
ไออาร์พีซีกำหนดให้พนักงานทุกคนรับทราบและลงนามที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจขององค์กร และส่งเอกสารยินยอมไปที่สำนักกิจการองค์กร นอกจากนี้ ได้เผยแพร่ข้อมูลและจัดการอบรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจให้แก่พนักงานผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ กิจกรรมวันกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Day) ของกลุ่ม ปตท. และไออาร์พีซี การจัดสัมมนาโครงการ IRPC Cubic Academy การรณรงค์นโยบายงดรับของขวัญ (No Gift Policy) และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) หลักสูตรการฝึกอบรมและการทบทวนอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ e-learning เพื่อสื่อสารและส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ
นอกจากนี้ ไออาร์พีซีได้เผยแพร่มาตรการและหลักปฏิบัติการในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจ บริษัทร่วมทุน และบริษัทที่ไออาร์พีซีมีหุ้นส่วนน้อยกว่าร้อยละ 51 รวมถึงสมาคมธุรกิจอื่นๆ โดยไออาร์พีซีกำหนดให้บริษัทร่วมทุนดำเนินงานตามจรรยาบรรณของธุรกิจตนเอง โดยต้องมีมาตรการที่เทียบเท่ากับคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี ในกรณีที่บริษัทร่วมทุนไม่มีการกำหนดจรรยาบรรณบริษัทเป็นของตนเอง บริษัทนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จากคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี [Link]
หมายเหตุ : หัวข้อการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันรวมอยู่ในการฝึกอบรมและการสื่อสารเกี่ยวกับจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจขององค์กร และตัวเลขร้อยละที่แสดงนี้สามารถบ่งบอกถึงความครอบคลุมของการฝึกอบรมและการสื่อสารเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
ไออาร์พีซีได้นำกรอบการกำกับดูแลกิจการแบบบูรณาการ การบริหารความเสี่ยง/การควบคุมภายในและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Governance, Risk Management/Internal Control, and Compliance: GRC) มาใช้ในการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง แนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมนี้ช่วยให้บริษัทฯ สามารถระบุ ประเมิน และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เป็นไปอย่างราบรื่น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งคณะทำงานด้าน GRC เพื่อทำกิจกรรมเชิงรุกที่มุ่งส่งเสริมความเข้าใจและการบูรณาการหลักการของ GRC ได้ดียิ่งขึ้นในกลุ่มพนักงาน พร้อมทั้งจัดตั้งฝ่ายช่วยเหลือและกำหนดผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาขึ้น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ GRC จะได้รับการรายงานไปที่คณะกรรมการ GRC ทุก 2 เดือน และรายงานต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกกิจการที่ดีและควมยั่งยืนทุกไตรมาส
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของไออาร์พีซี สามารถศึกษาข้อมูลได้จาก Compliance Systems [Link].
ไออาร์พีซีมุ่งมั่นกำจัดการทุจริตคอร์รัปชัน การให้สินบน และการใช้อำนาจบังคับทุกรูปแบบ โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกระดับรวมถึงผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม เช่น นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน นโยบายการต่อต้านการทุจริตและให้สินบน นโยบายการรับ-ให้ของขวัญ การเลี้ยง หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อบังคับใช้กับบุคลากรทุกระดับทั่วทั้งองค์กรและบริษัทในกลุ่ม และจัดให้มีการฝึกอบรมพร้อมกับรณรงค์กระตุ้นจิตสำนึกในช่วงเวลาที่เหมาะสมในโอกาสต่างๆ ไออาร์พีซียังส่งเสริมการสร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันให้ขยายไปยังผู้มีส่วนได้เสีย เช่น บริษัทในกลุ่ม ผู้ร่วมทุน และผู้รับเหมา
นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบยังกำหนดให้กระบวนการประเมิน และบริหารจัดการความเสี่ยงจากการทุจริตเป็นหนึ่งในหัวข้อของการตรวจสอบภายใน ขอบเขตของการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมธุรกิจของไออาร์พีซีทั้งหมด การประเมินความเสี่ยงเน้นย้ำถึงความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ เช่น ความเสี่ยงเหล่านี้ถูกจัดเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจและมีการกำหนดมาตรการป้องกัน คณะกรรมการตรวจสอบยังกำหนดให้มีการควบคุม ติดตาม ประเมิน และรายงานความเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี 2566 หัวข้อ “การสร้างจิตสำนึกและการตระหนักรู้ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี” [Link]
ไออาร์พีซีปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยมีหน่วยงานที่กำหนดรับผิดชอบในการดำเนินการอย่างชัดเจนและจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและรับข้อร้องเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขที่ชัดเจน เป็นกลาง และโปร่งใส ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถสื่อสารได้โดยตรงกับประธานคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ โทรศัพท์ เว็บไซต์บริษัท อีเมล์ และตู้ไปรษณีย์ บริษัทฯ เปิดรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือจรรยาบรรณธุรกิจ หรือการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของบุคคลทุกระดับ ตั้งแต่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและพยานที่เกี่ยวข้องตามความมุ่งมั่นที่ประกาศไว้ในนโยบายการแจ้งเบาะแส
เรื่องร้องเรียนทั้งหมดจะถูกนำส่งไปที่สำนักตรวจสอบภายในเพื่อกลั่นกรองเบื้องต้น หากเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริตจะนำส่งต่อคณะกรรมการกลั่นกรองข้อร้องเรียน คณะกรรมการกลั่นกรองข้อร้องเรียนจะกลั่นกรองเรื่องร้องเรียนในเบื้องต้น และทำการรวบรวมหรือแสวงหาพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาข้อร้องเรียน รวมถึงจัดทํารายงานเสนอประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และแจ้งกลับผู้ร้องเรียนถึงสถานะการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด หากเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชัน สำนักตรวจสอบภายในเป็นผู้รับผิดชอบการดำ เนินการและติดตามผล พร้อมรวบรวมข้อมูลการกระทำผิดหรือละเมิดจรรยาบรรณบริษัทฯ เพื่อรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทฯ โดยพิจารณาว่าเรื่องที่ร้องเรียนมีมูลหรือไม่และตั้งคณะกรรมการสอบสวนในลำดับต่อไป หากมีความผิดจริงจะมีการพิจารณาลงโทษตามระเบียบวินัยของบริษัทฯ และมีกระบวนการคุ้มครองพยานหรือผู้แจ้งเบาะแสอย่างชัดเจน บริษัทฯยังสรุปข้อมูลการร้องเรียน วิเคราะห์สาเหตุและความเสี่ยง และทบทวนข้อร้องเรียนเพื่อกำหนดกระบวนการควบคุมเพิ่มเติมต่อไป
ตั้งแต่ปี 2565 ไออาร์พีซีได้เพิ่มความเข้มข้นของกฎเกณฑ์ในการจัดการข้อร้องเรียนสำหรับบริษัทฯ และบริษัทย่อยเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินการได้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งครอบคลุมไปถึงกระบวนการรวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและนำความคิดเห็นดังกล่าวไปปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน
ไออาร์พีซีกำหนดบทลงโทษในกรณีที่พบการกระทำผิดต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบของบริษัทฯ อย่างเป็นธรรมและโปร่งใสในทุกกรณี คณะกรรมการตรวจสอบภายใน (Internal Audit Committee) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่พิจารณา ทวนสอบ และรายงานเหตุการณ์ไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) และคณะกรรมการบริษัทฯ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับที่ระบุไว้ในกระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน (Compliant Management Procedure)
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านข้อกำหนดกฏหมายอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานในปัจจุบันและอนาคตของไออาร์พีซี ดังนั้น ไออาร์พีซีจึงร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงรุก ด้วยการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทฯ รวมถึงเพื่อยกระดับให้กลายเป็นธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย ภายใต้ข้อกำหนด PTT Group Sustainability Management Sub-Element 6.3 ไออาร์พีซีจะต้องส่งเสริมให้มีการปฏิบัติด้านความเป็นอิสระและโปร่งใส รวมถึงการสื่อสารและหารือกับผู้วางนโยบายอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ไออาร์พีซีได้สนับสนุนหน่วยงานและสมาคมระดับชาติและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการวางแผนนโยบายสาธารณะและกฎระเบียบเพื่อพัฒนามาตรการต่อความยั่งยืน และช่วยผู้วางนโยบายผ่านประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความยั่งยืนทั้งภายในและภายนอกองค์กร อย่างไรก็ตาม ไออาร์พีซีจัดทำนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันเพื่อระบุการเป็นกลางด้านการเมือง หรือการที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคการเมืองในทางตรงหรือทางอ้อม แต่ให้การสนับสนุนกฎเกณฑ์ตามระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าคณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองตามกฎหมาย ไออาร์พีซีขอห้ามการออกความเห็นในทุกรูปแบบที่อาจส่งผลกระทบไปยังชื่อเสียงขององค์กร
ไออาร์พีซียึดมั่นในการแสดงความเป็นกลางทางการเมือง โดยไม่สนับสนุนด้านการเงินให้แก่พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง หรือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งทางการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค หรือ ระดับชาติ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ตระหนักดีว่าการบริจาคเพื่อการกุศล อาจส่งผลกระทบไปยังภาพลักษณ์ขององค์กร ในแง่ของการทุจริตคอร์รัปชันได้ ดังนั้นไออาร์พีซีจึงยึดถือหลักปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเข้มงวด รวมถึงไม่ให้การสนับสนุนหรือบริจาคที่อาจเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่วนที่ 4 นโยบายต่อต้านการทุจริต [Link].
ในปี 2566 ไออาร์พีซีได้สนับสนุนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสมาคมการค้าหรือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนี้
1. สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน
เพื่อมีส่วนร่วมและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผ่านกฎระเบียบใหม่ ๆ มีส่วนร่วมในการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มสมาชิก และร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรอื่น ๆ ในกิจกรรมการรับมือกับการรั่วไหลของน้ำมัน
2. สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยเป็นผู้นำในการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีในบริษัทไทย สมาคมฯ ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของกรรมการบริษัทผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และจัดให้มีแนวทางปฏิบัติที่ดีแก่กรรมการบริษัทในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล สมาคมฯ เชื่อมั่นว่าการมีกรรมการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยนำพาให้บริษัทดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
3. มูลนิธิต่อต้านการทุจริต
มูลนิธิต่อต้านการทุจริตร่วมมือกับสมาชิกองค์กรและเครือข่ายในประเทศไทย เพื่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมการต่อต้านการทุจริตให้กับคนไทยโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและชุมชน นอกจากนี้ มูลนิธิยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับชาติเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตและส่งเสริมวัฒนธรรมการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทยร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน
4. โกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติ
ไออาร์พีซีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ความคืบหน้าในการดำเนินการได้ถูกรายงานสู่ UNGC เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เครือข่ายฯ ส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
5. สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและพันธมิตรในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เพื่อส่งเสริมนโยบายและกฎระเบียบที่ดีและสามารถนำไปปฏิบัติได้
ตารางด้านล่างแสดงถึงการสนับสนุนทางการเงินของไออาร์พีซีต่อสมาคมอุตสาหกรรมและการค้า หรือTax-Exempt Groups ใน 4 ปีที่ผ่านมา
ประเภทหน่วยงาน |
ชื่อหน่วยงาน |
จำนวนเงินที่สนับสนุน (บาท) |
จำนวนทั้งหมด (บาท) |
|||
2563 |
2564 |
2565 |
2566 |
|||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการการล็อบบี้ การเป็นตัวแทนผลประโยชน์ (Lobbying, interest representation or similar) |
– |
0 |
0 |
0 |
0 |
0 |
แคมเปญทางการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับชาติ / องค์กร / ผู้สมัคร (Local, regional, or national political campaigns / organizations / candidates) |
– |
0 |
0 |
0 |
0 |
0 |
สมาคมการค้า (Trade Association) |
สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (Oil Industry Environmental Safety Group Association) |
4,766,000 |
4,302,000 |
4,654,234 |
1,079,000 |
14,801,234 |
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors – IOD) |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
2,000,000 |
|
คณะกรรมการ Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Management Committee of Thailand, Chemical Industry Club of the Federation of Thai Industries – RCMCT) |
336,000 |
308,600 |
312,670 |
323,800 |
1,281,070 |
|
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development) |
250,000 |
250,000 |
250,000 |
250,000 |
1,000,000 |
|
มูลนิธิต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption Foundation) |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
4,000,000 |
|
กลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี (Tax-exempt Group) |
มูลนิธิโกลบอลคอมแพ็ก (Foundation for the Global Compact) |
470,312 |
480,435 |
528,750 |
688,214 |
2,167,711 |
สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (Petroleum Instituted of Thailand) |
470,800 |
440,000 |
440,000 |
440,000 |
1,790,800 |
|
จำนวนเงินสนับสนุนทั้งหมด |
7,793,112 |
7,281,035 |
7,685,654 |
4,281,014 |
27,040,815 |
เพื่อแสดงเจตนารมณ์ความโปร่งใสขององค์กรในด้านการสนับสนุนทางการเมือง ไออาร์พีซีจึงเปิดเผยข้อมูลการสนับสนุนบนเว็บไซต์บริษัทฯ โดยไออาร์พีซีมี 2 ประเด็นที่สำคัญที่ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้
ประเด็นที่สำคัญ |
จุดยืนขององค์กร |
คำอธิบายของการมีส่วนร่วมกับบริษัท |
จำนวนค่าใช้จ่ายในปี 2566 (บาท) |
ความรับผิดชอบทางธุรกิจเพื่อการดำเนินงานในระยะยาวและการสนับสนุนการพัฒนาด้านความยั่งยืนในอุตสากรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี |
สนับสนุน |
ไออาร์พีซีให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี สุขภาพและความปลอดภัยและการปกป้องสิ่งแวดล้อม ไออาร์พีซีส่งเสริมและสนับสนุนแนวปฏิบัติในการกำหนดกฎระเบียบในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอื่นด้วย โดยวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนนี้คือเพื่อดำเนินธุรกิจ ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เทียบเคียงได้กับแนวทางปฏิบัติระดับสากลควบคู่ไปกับแนวโน้มความยั่งยืนระดับโลก |
1,500,000 |
การขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ |
สนับสนุน |
เพื่อนำพาประเทศและบริษัทฯ บรรลุความมุ่งมั่นการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ไออาร์พีซีร่วมมือกับองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมอบเครื่องมือและองค์ความรู้ที่แข็งแกร่งในการรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไออาร์พีซีเป็นองค์กรแรก ๆ ที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน อาทิ เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กเห่งประเทศไทยและเป็นคณะกรรมบริหารการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การสนับสนุนทุกรูปแบบดำเนินการผ่านการชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกซึ่งมีการเปิดเผยอย่างโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้เสีย |
2,781,014 |
ไออาร์พีซียึดหลักการความโปร่งใสและเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด ในการจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษี หลักการเหล่านี้ฝังแน่นอยู่ในทุกระดับขององค์กร เพื่อให้แนวทางการดำเนินงานด้านภาษีมีความสอดคล้องกันในทุกบริษัทในกลุ่มไออาร์พีซีและเป็นการส่งเสริมธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นนี้ นโยบายภาษีของบริษัทฯ จึงประกอบด้วยเสาหลักสี่ประการ ได้แก่
จรรยาบรรณด้านภาษี: บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะบรรลุการการด้านภาษีที่ยั่งยืนและแข่งขันได้เพื่อส่งเสริมคุณค่าและการเติบโตควบคู่ไปกับการแสดงให้เห็นถึงการเป็นพลเมืองที่ดีผ่านการดำเนินงานด้านภาษีองค์กรที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม หลักการของบริษัทฯ ประกอบด้วย:
ความสอดคล้องของภาษีกับกลยุทธ์องค์กรและเป้าหมายทางธุรกิจ: ไออาร์พีซีดำเนินกลยุทธ์ด้านภาษีอย่างมีหลักการ โปร่งใส และยั่งยืนในระยะยาว และคำนึงถึงผลกระทบทางภาษีที่มีต่อการลงทุนและการทำธุรกรรมใหม่ นอกจากนี้
ไออาร์พีซียังสำรวจสิทธิประโยชน์/การยกเว้นภาษีสำหรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย
การบริหารความเสี่ยงทางภาษี: ไออาร์พีซีคำนึงถึงความเสี่ยงด้านภาษีเพื่อให้มั่นใจว่ามีการระบุ จัดการ และรายงานต่อฝ่ายบริหารเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการทางภาษีของบริษัทฯ เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ความโปร่งใสทางภาษี: ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะรายงานข้อมูลภาษีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังหน่วยงานกำกับดูแลอย่างทันท่วงที เพิ่มความโปร่งใสทางภาษี และปฏิบัติตามข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูลภาษีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ไออาร์พีซีมีกลยุทธ์ทางภาษีและนโยบายภาษีที่ได้รับการรับรองและความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ ฝ่ายบัญชีได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กำกับดูแลการพัฒนาและการดำเนินงานทางภาษี เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามและการดำเนินการทางภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายภาษีของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จาก [Link].
เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ จึงเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการทางภาษีในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเดียวที่บริษัทฯ มีการดำเนินกิจการ โดยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรายงานข้อมูลภาษีประจำปี 2566 สามารถศึกษาได้จาก [Link].
ข้อมูลทางการเงิน |
2565 |
2566 |
อัตราเฉลี่ย |
กำไรก่อนภาษี |
(5,501,824,833) |
(3,684,246,386) |
|
ภาษีที่ได้รายงาน |
-1,141,807,919 |
-771,892,957 |
|
การปรับปรุงที่ยอมรับได้สะสม |
0 |
0 |
|
อัตราภาษีที่ได้รายงาน (%) |
20.75326 |
20.95118 |
20.83264 |
ภาษีที่จ่ายจริง |
2,495,312,949 |
171,300,292 |
|
อัตราภาษีที่จ่ายจริง (%) |
-45.35428 |
-4.64953 |
หมายเหตุ: *การปรับปรุงที่ยอมรับได้สะสม จะคำนวณตามจำนวนในสองกรณี คือ 1. ผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานทั่วทั้งกลุ่ม 2. รหัสภาษีเขตอำนาจศาลเดียว
ภาษีที่ได้รายงานต่ำกว่าเกิดขึ้นในประเทศที่จ่ายภาษีประเทศเดียวคือประเทศไทยซึ่งมีอัตราภาษีต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม: พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 42) พ.ศ.2559 วันที่ 3 มีนาคม 2559 ให้ลดภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทเป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
ตามงบการเงินของไออาร์พีซี รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ประกอบด้วย
ไออาร์พีซีได้รับสิทธิพิเศษจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รายละเอียดทั้งหมด ตั้งแต่ระยะเวลาของสิทธิพิเศษและรายได้ที่ได้รับผลกระทบ รวมอยู่ใน One-Report [Link].
ในปี 2566 IRPC ได้รับเรื่องร้องเรียนผ่านระบบการแจ้งเบาะแสทั้งหมด 20 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน พฤติกรรม และข้อเสนอแนะ 19 เรื่อง และเรื่องการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัท 1 เรื่อง โดยแบ่งประเภทได้เป็น เรื่องเกี่ยวกับการทุจริต 1 เรื่อง การเลือกปฏิบัติหรือการล่วงละเมิด 0 เรื่อง ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า 0 เรื่อง ความขัดแย้งผลประโยชน์ 0 เรื่อง และการฟอกเงินหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ภายใน 0 เรื่อง จากกรณีการทุจริตของพนักงานร่วมกับบริษัทผู้รับเหมา บริษัทได้เลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ตักเตือนผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ ดำเนินการแบนบริษัทผู้รับเหมา และดำเนินคดีข้อหายักยอกทรัพย์กับพนักงานและบริษัทผู้รับเหมา
จากจำนวน 20 เรื่อง ได้รับการแก้ไขปัญหาครบทั้ง 20 เรื่อง โดยเป็นเรื่องร้องเรียนที่ไม่มีมูล 18 เรื่อง มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยการตักเตือนด้วยวาจา 1 เรื่อง ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร 0 เรื่อง และเลิกจ้าง 1 เรื่อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ถูกแจ้งให้ดำเนินการป้องกันปัญหา เช่น การสร้างความตระหนักรู้ด้านวัฒนธรรมองค์กรและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในแต่ละหน่วยงานผ่านกิจกรรม การจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นระหว่างผู้บังคับบัญชาและลูกน้อง และการจัดอบรมสร้างความตระหนักรู้ด้านธรรมาภิบาล จริยธรรม และการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างต่อเนื่อง
|
ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน |
ประเภทของเรื่องร้องเรียน |
สอบสวนเบื้องต้น |
การดำเนินงานของผู้รับผิดชอบ |
||||||
& Postal |
ตู้ ปณ. 35 |
Website |
ผู้บังคับบัญชา |
– การปฏิบัติงาน– พฤติกรรม– ข้อเสนอแนะ |
เรื่องทุจริต |
สอบสวนเบื้องต้นแล้วเสร็จ |
อยู่ระหว่างสอบสวยเบื้องต้น |
ปิดเรื่องร้องเรียน |
อยู่ระหว่างดำเนินการ |
|
1 |
8 |
1 |
10 |
19 |
1 |
20 |
– |
20 |
– |
|
รวม |
20 (100%) |
20 (100%) |
20 (100%) |
20 (100%) |
||||||
% |
10 |
80 |
5 |
95 |
95 |
5 |
100 |
– |
100 |
– |
รายละเอียดเกี่ยวกับกรณีการละเมิดที่ได้รับการร้องเรียนผ่านช่องทางแจ้งเบาะแสในรอบ 4 ปี [Link]
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้