ความหลากหลายทางชีวภาพ
“ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะผนวกการพิจารณาผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปในกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณค่าทางชีวภาพที่มีความอ่อนไหว”
เป้าหมาย:ดำเนินธุรกิจโดยปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ (No Net Deforestation) |
|
100% ของพื้นที่ปฏิบัติการได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
100% ของพื้นที่ปฏิบัติการได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แนวโน้มการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบันจึงถือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อเสถียรภาพและความยืดหยุ่นของระบบนิเวศ รวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำสะอาด ตลอดจนบริการทางวัฒนธรรมและนันทนาการ (Cultural and recreational services) ซึ่งมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ทั้งนี้ ไออาร์พีซีตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจของเราตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศ จึงให้ความสำคัญกับการปกป้องและการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นหลัง
การดูแลเอาใจใส่ด้านความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์รวมถึงสิ่งแวดล้อมนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมหลักของไออาร์พีซี ด้วยเหตุนี้ ไออาร์พีซีและบริษัทในเครือจึงมุ่งมั่นที่จะผนวกการพิจารณาผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปในกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณค่าทางชีวภาพที่มีความอ่อนไหว ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม
ความมุ่งมั่นของไออาร์พีซีในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพสะท้อนอยู่ในนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน บริษัทไออาร์พีซี (IRPC QSSHE Policy) ซึ่งเป็นนโยบายระดับสูงสุดขององค์กร ที่มีการผนวกประเด็นการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพไว้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพนี้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้แก่ คู่ค้าที่ทำธุรกิจกับ ไออาร์พีซีและบริษัทในเครือโดยตรง (Tier-1 suppliers) และคู่ค้าที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับไออาร์พีซี และบริษัทในเครือโดยตรง (Non-tier-1 suppliers)
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จาก [link]
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถศึกษาได้จาก [link]
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน บริษัทไออาร์พีซี (IRPC QSSHE Policy) สามารถศึกษาได้จาก [link]
แนวทางการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของไออาร์พีซี ครอบคลุมถึงการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ที่อ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ หรือพื้นที่ใกล้เคียง โดยดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน และแนวทางตามข้อควรปฏิบัติ (Operating Practices/ Procedures) ที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงและลดการสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และการหลีกเลี่ยงการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลกและพื้นที่คุ้มครองตามประเภท I-IV ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ในการนี้ ไออาร์พีซีและบริษัทในเครือจะดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ในทุกกิจกรรมและพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อนำความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพขององค์กรไปสู่การปฏิบัติจริง
นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศ เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ดังนี้
ผลลัพธ์และข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการประเมินจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทางการดำเนินการในอนาคตเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของบริษัทฯ
การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Risk Assessment)
ไออาร์พีซีดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นของพื้นที่ปฏิบัติการ โดยอ้างอิงมาตรฐาน GRI EN 11 และ EN12 ในการรวบรวมข้อมูลและอธิบายแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศ (BES) โดยกระบวนการดังกล่าวได้บูรณาการการประเมินความเสี่ยงและการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการที่มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ ผลการประเมินพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งหมด (100%) ในปี 2566 พบว่าไม่มีพื้นที่ปฏิบัติการใดที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก IRPC Biodiversity Risk Assessment Method [link]
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไออาร์พีซีได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีตัวอย่างโครงการที่โดดเด่นและผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
IRPC ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ดำเนินโครงการปลูกป่า เพื่อเป็นผู้นำขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zeroไออาร์พีซี ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับกรมป่าไม้ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และโครงการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ผ่านการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแหล่งกักเก็บคาร์บอน จำนวน 2 ล้านไร่ โดยแบ่งเป็น ปตท. 1 ล้านไร่ และความร่วมมือของบริษัท ในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 |
โครงการบริหารจัดการคาร์์บอนเครดิตในป่่าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกับมููลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯบริษัทฯ ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงไปตรวจเยี่ยมโครงการคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฟังสัมมนาจากผู้นำชุมชนและได้เรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกจากประสบการณ์ในการจัดการกับพื้นป่าที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน โดยบริษัทเข้าเยี่ยมชม ตรวจสอบกลไกลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับโครงการ TVER อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน บริษัทฯ ได้ร่วมตรวจสอบโครงการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาประเมินร่วมกับชุมชน นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังควบคุมดูแลกิจกรรมระหว่างการสำรวจสถานที่ในผืนป่าตัวอย่างในป่าชุมชนดังกล่าว จากเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นและการดำเนินกิจการที่แน่วแน่ บริษัทฯ จึงประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 2566 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการอุทิศตนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและก้าวไปสู่อนาคตที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์
|
ความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
จำนวนพื้นที่ |
ขนาด (ไร่) |
พื้นที่ทั้งหมด |
30 |
701.28 |
พื้นที่ที่ได้รับการประเมิน |
30 |
701.28 |
พื้นที่ที่มีความเสี่ยง |
0 |
0 |
พื้นที่ที่มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยง |
0 |
0 |
รายงานสิ่งมีชีวิตตามบัญชีแดงของ IUCN (IUCN Red List species ) และรายงานสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการอนุรักษ์แห่งชาติ (national conservation list) ที่มีถิ่นอาศัยและได้รับผลกระทบจากสถานประกอบกิจการ |
0 |
0 |
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้