การบริหารจัดการบุคลากร

“ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะยกระดับการบริหารจัดการบุคลากรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานและก้าวสู่การเป็น Employer of Choice”

เป้าหมาย:

ผลการดำเนินงาน:

ผลการสำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

ผลการสำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเท่ากับร้อยละ 86 ในปี 2566

ผลกระทบ

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พนักงานถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จและการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยตระหนักดีถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบุคลากร อาทิ การเกษียณอายุของพนักงานที่มีทักษะความสามารถสูง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานหลังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ไออาร์พีซีจึงมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการบุคลากรของบริษัทให้สามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพไว้กับองค์กรได้ ตลอดจนพัฒนาทักษะของบุคลากรให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และสามารถเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภาพรวม นอกจากนั้น ไออาร์พีซียังให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สภาพการทำงานที่ปลอดภัย และการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียม ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียบุคลากรที่มีศักยภาพ

ไออาร์พีซีจึงมีนโยบายที่จะมุ่งเน้นพัฒนาและปรับปรุงการบริหารและระบบการพัฒนาบุคลากรให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยี และเป็นไปตามมาตรฐานสากล  เพื่อที่จะเสริมสร้างและพัฒนาให้พนักงานมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามค่านิยม G3 ขององค์กร ได้แก่ GOOD (ดีด้วยใจรับผิดชอบ) GREAT  (เก่งทันโลกธุรกิจ) GROWTH to success (กล้าเพื่อความสำเร็จ) ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานสามารถเป็นกลไกหลักในการพัฒนาให้บริษัทฯ ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization) และยกระดับองค์ให้ได้รับการยอมรับในหมู่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ในฐานะองค์กรที่ทุกคนอยากร่วมงาน (Employer of Choice)

แนวทางการบริหารจัดการ

กลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากรของไออาร์พีซีประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีบุคลากรที่มีทักษะความสามารถสอดคล้องกับแผนธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมหลักที่ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กร

 

กลยุทธ์ด้านการเตรียมพร้อมบุคลากร (People Readiness)

การวางแผนกำลังคน (Workforce Planning)

ไออาร์พีซีมีการวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Workforce Planning: SWP) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อวางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีแผนการสรรหากำลังคนที่เหมาะสมและเชื่อมโยงกับแผนธุรกิจที่มีความสำคัญในปัจจุบันและธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อพัฒนากลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพ ไออาร์พีซีได้ดำเนินการตามแนวทางดังนี้

  • การสร้างและพัฒนากลุ่มผู้บริหารที่มีศักยภาพ (Management Pool) และพัฒนาเตรียมความพร้อมเพื่อทดแทนผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญเชิงกลยุทธ์ (Strategic positions) เช่น ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาตามโครงสร้างองค์กร (Line positions) และตำแหน่งผู้บริหาร (Management position) ที่บริษัทฯ ส่งพนักงานไปปฏิบัติงาน Secondment ตาม IRPC Group way of conduct โดยมีเป้าหมายรายปี ดังนี้

          – ปี 2565: Succession Plan N-1/N-2 & N-3

          – ปี 2566: Succession Plan N-4 & Review: Succession Plan N-1/N-2 & N-3

          – ปี 2567: จัดทำ Succession Plan ในระดับที่ต่ำกว่า N-4

  • การสร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (Expert Pool) ในด้านที่สำคัญต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของบริษัท โดยมีเป้าหมายรายปี ดังนี้

          – ปี 2565: ดำเนินการนำร่อง Pilot Model ในบางสาขาความเชี่ยวชาญ

          – ปี 2566: ขยายขอบเขตสู่หน่วยงานที่จำเป็นต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

  • การสร้างและพัฒนากลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ (Young Leaders Pool & Development Program) เพื่อรองรับ
    การเติบโตและการขยายสู่ธุรกิจใหม่ โดยคัดเลือกและพัฒนาผู้บริหารรุ่นใหม่จำนวน 10 คนต่อปี เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี

นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังดำเนินการเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงานที่มีศักยภาพและความพร้อมที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารผ่านโครงการ Break Through เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการบริหารโครงการ รวมถึงแต่งตั้งคณะกรรมการ Human Resource & Organization Effectiveness Management Committee (HOMC) และคณะกรรมการ Human Resource & Organization Effectiveness Management Committee (HODC) เพื่อทำหน้าที่ทบทวนกำลังคน พิจารณาและปรับปรุงการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning) การเตรียมพร้อมผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) และกระบวนการสรรหาพนักงานในทุกระดับ โดยดำเนินและติดตามการพัฒนามาตรฐานสมรรถนะเป็นประจำทุกปี

การสรรหา (Recruitment)

ไออาร์พีซีให้ความสำคัญกับการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในอนาคตและรับมือกับความเสี่ยงจากการพึ่งพาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสูงมาเป็นระยะเวลานาน ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นการสรรหาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคตของไออาร์พีซี ผ่านกลยุทธ์การสรรหาที่ผสมผสานทั้งการคัดเลือกผู้มีศักยภาพภายในองค์กรและการดึงดูดผู้มีความเชี่ยวชาญจากภายนอก รวมทั้งการจัดกลุ่มผู้มีศักยภาพสูงสำหรับ
การพัฒนาต่อยอดเพื่อสืบทอดตำแหน่งที่ว่างลง นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังสนับสนุนการจ้างงานในท้องถิ่นในพื้นที่ที่เราดำเนินงาน เพื่อกระจายผลประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจไปยังชุมชนในพื้นที่

ไออาร์พีซีกำหนดเป้าหมายในการสรรหาบุคลากรที่สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของ “การอยู่รอด (survive)” ในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับ “การเดินหน้าธุรกิจต่อไปในอนาคต (Perform in the new game)” โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นคู่แข่งแถวหน้าในตลาดโดยการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพ และพัฒนาศักยภาพของพนักงานเก่าเพื่อบรรลุตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้

  • Reposition: การปรับปรุงพอร์ตโฟลิโอเพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพและการดำเนินงาน
  • Disrupt: การสร้าง New Market Norms หรือ Business Delivery Model
  • Preserve: การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายและเพิ่มมูลค่าทางการเงิน
  • Survive:  การปรังปรุงโครงสร้างและลดต้นทุน

 

การจ้างงานในท้องถิ่น:

จำนวน

สัดส่วนจากพนักงานทั้งหมดในพื้นที่

พนักงานทั้งหมดในพื้นที่จังหวัดระยอง

3,710

ร้อยละ 84.59

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Capital Development)

ไออาร์พีซีให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงานทุกคน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรมดิจิทัล โดยฝ่ายบุคคลของไออาร์พีซีได้รับมอบหมายให้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบขีดความสามารถของพนักงานในบริษัทระดับโลกและนำมาประยุกต์ใช้ใน
การประเมินศักยภาพและทักษะการเป็นผู้นำของบุคลากรไออาร์พีซี รวมถึงกำหนดแนวทางการเสริมสร้างทักษะของพนักงาน และแผนการอบรมพนักงานของแต่ละหน่วยงานให้สอดรับกับกลยุทธ์ขององค์กร ทั้งนี้ ไออาร์พีซีได้จัดทำโครงการ
ACCELERATE เพื่อปรับและเพิ่มทักษะของพนักงานในทุกระดับทำให้เกิดความคล่องตัวในการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Personal Learning Agility) ทักษะการวิเคราะห์ และทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้ไออาร์พีซีสามารถดำเนินการตามเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่มีบุคลากรระดับ Top Quartile และสร้างผลการดำเนินงาน Top Quartile อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ภายใต้โครงการ ACCELERATE ยังมีการติดตามและกำหนดเป้าหมายด้านทักษะของพนักงานในแต่ละระดับอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ไออาร์พีซีได้พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเป็นผู้นำในผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจในอนาคต ประกอบด้วยโปรแกรม Lead Program (สำหรับผู้บริหารที่ขึ้นดำรงตำแหน่งใหม่) และ Next program (สำหรับผู้บริหารกลุ่มศักยภาพ) โดยการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเป็นผู้นำจะเป็นการเรียนรู้แบบ Training: Coaching: Experience (10:20:70) โดยการจ้างที่ปรึกษาทำการฝึกอบรมตามหลัก “5D” Model รวมถึงจัดให้มีการอบรมผ่านแพลตฟอร์มเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) โดยมีเป้าหมายรายปี ดังนี้

  • ปี 2565: เน้นการให้ความรู้ ซึ่งจะต้องทดสอบให้ผ่านมากกว่า 70%
  • ปี 2566: เน้นการแสดงผลงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทโดยนำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้ผ่านการมอบหมายงานหรือการหมุนเวียนงานเพื่อพิสูจน์ความสามารถและเพิ่มพูนประสบการณ์ในการหมุนเวียนงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาบุคลากร

31 ล้านบาท ในปี 2566

ชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงาน

31.25 ชั่วโมง ต่อคนต่อปี

ค่าใช้จ่ายในการอบรมและพัฒนาบุคลากรเฉลี่ย

7,080 ต่อพนักงาน (FTE)

 

กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร (Reforming Organization)

การบริหารจัดการด้านศักยภาพและการให้รางวัล (New Performance Management and Rewarding)

เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและมีผลลัพธ์การดำเนินงานใน Top Quartile ไออาร์พีซีจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ รวมถึงการกำหนดรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจระยะยาวตามผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ไออาร์พีซีได้ปรับปรุงเป้าหมายการปฏิบัติงานจาก KPI 60% ความสามารถและศักยภาพ (Competency) 20% และเป้าหมายด้านพฤติกรรม (Behavior) 20% เป็น 50% 25% และ 25% ตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้ฝ่ายบุคคลสามารถจัดกลุ่มและระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงภายในองค์กรได้ นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังใช้เครื่องมือที่หลากหลายมาใช้ในการประเมินและวัดผลการปฏิบัติงานของพนักงาน เช่น Leading and Lagging Indicators และ Value Tree และ KPI Cascading Tool ซึ่งนำเสนอผลการประเมินในรูปแบบกราฟิกที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง KPI ของพนักงานแต่ละคนในทุกระดับและช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์และกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทาบริหารจัดการด้านศักยภาพของไออาร์พี สามารถศึกษาได้จาก [link]

กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร (Core Value)

ไออาร์พีซีมุ่งหมายที่จะปลูกฝังค่านิยมหลักขององค์กรที่เอื้อให้เกิดพฤติกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้บรรลุวิสัยทัศน์ใหม่และเป้าหมายกลยุทธ์ ด้วยกรอบแนวคิด “G3” GOOD (ดีด้วยใจรับผิดชอบ) GREAT (เก่งทันโลกธุรกิจ) GROWTH to success (กล้าเพื่อความสำเร็จ) ซึ่งประกอบด้วยวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ขององค์กรดังต่อไปนี้

การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน (Employee Health and Wellbeing Promotion)

การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพและสมดุลในชีวิต อันเป็นพื้นฐานของความสำเร็จทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ดังนั้น ไออาร์พีซีจึงจัดสรรสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมให้แก่พนักงาน โดยนอกเหนือจากแพ็กเกจสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยสวัสดิการประกันสังคมพื้นฐาน 4 ประการ และสวัสดิการสงเคราะห์แล้ว บริษัทฯ ยังมอบโปรแกรมสวัสดิการพิเศษให้แก่พนักงานประจำซึ่งครอบคลุมตลอดทั้งวงจรชีวิตของการเป็นพนักงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการส่วนตัวทั้งในด้านการใช้ชีวิต สุขภาพ และนันทนาการได้ไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว ผ่านการเพิ่มเติมสวัสดิการด้านวัฒนธรรม กีฬา การพักผ่อน ชีวิตครอบครัว และการพัฒนาตนเอง

สิทธิประโยชน์ของพนักงาน (Employee Benefits)

  • การบริหารจัดการความเครียดจากการทำงาน (Workplace stress management)

การให้ความรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดี: บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เช่น สิทธิมนุษยชน สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การสร้างสถานที่ทำงานที่มีความสุข ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ความรู้และสนับสนุนพนักงานในการลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังเชิญชวนคู่ค้าและลูกค้าของบริษัทฯ เข้าร่วมการสัมมนาเหล่านี้ รวมถึงจัดทำบันทึกการสัมมนาสำหรับการรับชมในภายหลัง

  • กิจกรรมด้านสุขภาพและกีฬา (Sport & health initiatives)

โปรแกรมออกกำลังกาย: ไออาร์พีซีจัดให้มีศูนย์ออกกำลังกาย (Fitness Centre) ในทุกพื้นที่ปฏิบัติการของเรา รวมถึงจัดกิจกรรมประจำปี อาทิ กิจกรรมมาราธอนและการแข่งวิ่ง กิจกรรม Refinery games เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในหมู่พนักงาน

โปรแกรมโภชนาการ (Nutrition Programs): การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ด้วยเหตุนี้ ไออาร์พีซีจึงได้จัดทางเลือกอาหารเพื่อสุขภาพและผักหลายหลายชนิดภายในโรงอาหารพนักงาน รวมถึงเสิร์ฟผลไม้เป็นของว่างสำหรับการประชุม นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังให้คำแนะนำและจัดสัมมนาด้านโภชนาการให้แก่พนักงาน รวมถึงจัดให้มีการแข่งขันลดน้ำหนักประจำปี

สภาพการทำงาน (Work Conditions)

ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น บริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น โดยคำนึงถึงความต้องการของธุรกิจควบคู่ไปกับการตอบสนองความต้องการของพนักงานและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้น เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว ไออาร์พีซียังได้พัฒนา i-Connect portal เพื่อยกระดับการสื่อสารภายในองค์กร ผ่านระบบการทำงานแบบ Worksite-centric

การทำงานจากที่บ้าน (Work-from-home Arrangement) ไออาร์พีซีกำหนดให้รูปแบบการทำงานจากที่บ้านเป็นหนึ่งในรูปแบบการทำงานปกติ เพื่อช่วยสร้างความยืดหยุ่นและปรับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ รวมถึงพัฒนาระบบเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานที่สำนักงาน

สิทธิประโยชน์สำหรับครอบครัว (Family Benefits)

พนักงานไออาร์พีซีทุกคนสามารถใช้สิทธิ์ลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้โดยยังคงได้รับค่าจ้าง โดยสิทธิ์ดังกล่าวครอบคลุมทั้งพนักงานหญิงที่ลาคลอดบุตรและพนักงานชายที่ลาเพื่อดูแลครอบครัว อีกทั้งยังสามารถใช้วันลากิจส่วนตัวเพิ่มเติมในการลาเพื่อดูแลครอบครัวได้ นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังจัดให้มีห้องให้นมบุตรในพื้นที่ปฏิบัติการแต่ละแห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่กำลังตั้งครรภ์หรือเพิ่งคลอดบุตร รวมถึงจัดให้มีบริการรับเลี้ยงเด็ก (Childcare Service) ที่สำนักงานกรุงเทพฯ โดยการจ้างงานพี่เลี้ยงเด็กในพื้นที่ อันถือเป็นการสร้างโอกาสทางรายได้ให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ไออาร์พีซียังจัดสรรสวัสดิการประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งพนักงานและครอบครัว ได้แก่ คู่สมรส บุตร ผู้ปกครอง รวมถึงวัคซีนประจำปีและค่าใช้จ่ายทางทันตกรรม ตลอดจนมอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงาน เพื่อส่งเสริมการศึกษาและความเป็นอยู่ทีดี

ความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement)

ไออาร์พีซีกำหนด 5 หลักการในการขับเคลื่อนการสร้างความผูกพันของพนักงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ Best Employers Differentiators และ Foundation ซึ่งประกอบด้วย 3 หลักการย่อยภายใต้ Best Employers Differentiators ได้แก่ 1) ความคล่องตัว (Agility) 2) การสร้างผู้นำ (Engaging Leadership) และ 3) การส่งเสริมความสามารถ (Talent Focus) และ 2 หลักการย่อยภายใต้ Foundation ได้แก่ 4) พื้นฐาน (The Basics) และ 5) รากฐานการทำงานที่ดี (The Work) โดยหลักการเหล่านี้มุ่งให้เกิดผลลัพธ์ด้านความผูกพันของพนักงานควบคู่ไปกับผลลัพธ์ทางธุรกิจ ดังนี้

ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของพนักงาน

ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

  • “Say” – พนักงานพูดถึงองค์กรกับเพื่อนร่วมงาน ผู้มีศักยภาพเข้าทำงาน และลูกค้าในทางบวก ซึ่งสะท้อนถึงความพึงพอใจในงานและความภักดีต่อองค์กร
  • “Stay” – พนักงานมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กร ซึ่งสะท้อนความสอดคล้องกับเส้นทางอาชีพของพนักงาน และความความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติหน้าที่ที่ชัดเจน
  • “Strive” – พนักงานเต็มใจที่จะอุทิศตนให้กับการทำงานที่เหนือกว่าความคาดหมายของบริษัทฯ เพื่อความสำเร็จขององค์กรและสร้างสมดุลให้กับชีวิตการทำงานอย่างมีความสุข
  • “Talent” – การรักษาบุคลากร และการเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
  • “Operational” – การคำนึงถึงผลิตภาพและความปลอดภัย
  • “Customer” – การดูแลความพึงพอใจและการรักษาลูกค้า
  • “Financial” – การเติบโตของรายได้ กำไร และผลตอบแทนชองผู้ถือหุ้นในภาพรวม

ผลตอบแทนด้านทรัพยากรบุคคลจากการลงทุน (Human Capital Return on Investment)

Human Capital Return on Investment (HCROI) เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการวัดผลตอบแทนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคล โดยการคำนวณ HCROI ซึ่งไม่พิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพนักงาน (non-employee costs) จะช่วยให้บริษัทฯ มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิผลของการลงทุนในทรัพยากรบุคคล เพื่อนำไปใช้ประกอบตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการบุคลากรอย่างมีกลยุทธ์และปรับปรุงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในอนาคต

มูลค่าผลตอบแทนด้านทรัพยากรบุคคลจากการลงทุน (HCROI) เท่ากับ 1.46  ในปี 2566

การดำเนินงานที่สำคัญ

ในปี 2566 ไออาร์พีซีลงทุนในโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลหลัก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ Leadership Development Program และโครงการ i-CHEPs พร้อมกับประเมินผลตอบแทนทางการเงินของโครงการเหล่านี้ เพื่อระบุผลตอบแทนด้านทรัพยากรบุคลากรจากการลงทุน โดยวัดอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนและประเมินประสิทธิผลของการลงทุนในการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน

โครงการพัฒนาศักยภาพพนักงาน (Employee Development Programs)

โครงการและวัตถุประสงค์

ผลประโยชน์ต่อพนักงาน

ผลประโยชน์ต่อธุรกิจ

ผลลัพธ์เชิงปริมาณต่อธุรกิจ (ด้านการเงิน และไม่ใช่การเงิน)

สัดส่วนของพนักงาน (FTEs) ที่เข้าร่วมโครงการ

โครงการ Leadership Development Program (LEAD 3) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการบริหาร

โครงการเปิดโอกาสให้พนักงานผู้บริหารระดับการที่มีผลการปฏิบัติงานดีสามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้ทักษะการเป็นผู้นำเพื่อปรับปรุง

ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ การประหยัดต้นทุนจากประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการออกแบบระบบปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตที่ดีขึ้น

การดำเนินโครงการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม

0.55

โครงการให้แก่ผู้บริหารระดับกลางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่ม

ประสิทธิภาพของการดำเนินงานและประหยัดต้นทุน

สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการออกแบบระบบปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตที่ดีขึ้น

การดำเนินโครงการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มพูนทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการให้เหตุผล

ทั้งนี้ โครงการสามารถยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต ส่งผลให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านบาทต่อปี จากการลดค่าใช้จ่ายและประหยัดต้นทุนราว 200 ล้านบาทต่อปี

โครงการ Knowledge Development on Integrated Chemical Engineering (i-ChePs) program มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนทักษะของพนักงานด้านแนวปฏิบัติทางวิศวกรรมที่ดี โดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีที่ผู้เข้าร่วมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ปรับปรุง

การทำงานได้

โครงการช่วยเพิ่มพูนความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีโดยบูรณาการทั้งในเชิงทฤษฎีและการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง

ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ผ่านโครงการนี้สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งในด้านการลดต้นทุนจากประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการออกแบบระบบปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตที่ดีขึ้น

การดำเนินโครงการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มพูนทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการให้เหตุผล

ทั้งนี้ โครงการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและลดการใช้พลังงาน ส่งผลให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากการลดค่าใช้จ่ายมากถึง 176.59 ล้านบาทต่อปี และคาดการณ์ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 5,218 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

2

สรุปผลการดำเนินงาน

ไออาร์พีซีดำเนินการสำรวจความผูกพันของพนักงานเป็นประจำทุกปีและนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาใช้ปรับปรุงผลลัพธ์การดำเนินงานด้านการสร้างความผูกพันของพนักงาน โดยการสำรวจของบริษัทฯ จะทำการประเมินถึงความพึงพอใจในการทำงาน เป้าหมาย ความสุขในการทำงาน รวมถึงระดับความเครียดของพนักงาน ทั้งนี้ ในปี 2566 มีพนักงานเข้าร่วมการสำรวจความผูกพันคิดเป็นร้อยละ XX และผลการประเมินสะท้อนระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรอยู่ที่ร้อยละ XX ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระดับความผูกพันของพนักงานของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่าไออาร์พีซีมีผลการดำเนินงานในระดับ Top Quartile สะท้อนผลสำเร็จของความพยายามเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร นอกจากนี้ ความสำเร็จดังกล่าวยังสะท้อนผ่านอัตราการลาออกโดยสมัครใจที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ไออาร์พีซียังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคล ผ่านการตอบสนองต่อข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการสำรวจซึ่งเผยให้เห็นถึงประเด็นที่ต้องปรับปรุง เช่น XX ไออาร์พีซีจึงมีแผนนำ XX มาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเสียงของพนักงานมีคุณค่าและต้องได้รับการตอบสนอง รวมถึงแจ้งผลการสำรวจให้พนักงานทราบผ่านช่องทางสื่อสารภายใน เช่น XX

สามารถดูผลการดำเนินงานด้านบุคลากร ได้จากรายงาน IRPC Performance Summary [Link]

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน