การบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภูมิอากาศ พลังงาน และการจัดการทรัพยากรน้ำ
ไออาร์พีซี ตระหนักถึงผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมี จึงให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดกลยุทธ์และทิศทางตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และกำหนดดัชนีชี้วัด (KPI) เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ดัชนีการใช้พลังงาน (Energy Efficiency Index) ให้เป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลการดำเนินของพนักงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่ลงมายังระดับพนักงานในสายงานปฏิบัติการผลิต นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงรายงานในการประชุมของฝ่ายจัดการและคณะกรรมการบริษัทฯ ในส่วนของตัวชี้วัดของหน่วยปฏิบัติการ อาทิ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการบริหารจัดการน้ำ จะถูกนำเสนอและรายงานต่อคณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Committee) และคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่มโรงงานระยอง (Management Committee of Rayong Management Committee)
ไออาร์พีซี มีความมุ่งมั่นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมและการใช้น้ำ สอดคล้องกับนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน (QSSHE) ไออาร์พีซี มีเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2603 ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่มีเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ผ่านการดำเนินการ 3 ด้าน ด้วยกันได้แก่ 1. การดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. การมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. การดูดซับและการทำให้เป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: SDGs) และปัจจัยต่าง ๆ ในคำแสดงเจตจำนงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IRPC Climate Change Statement)
สามารถอ่านคำแสดงเจตจำนงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IRPC Climate Change Statement) ได้ที่ [link]
ไออาร์พีซี มีการพิจารณาความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการประเมินความเสี่ยงขององค์กร โดยใช้ Risk Matrix ในการจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งพิจารณาจากระดับโอกาส(Risk Likelihood) และผลกระทบของความเสี่ยง (Risk Impact) ต่อองค์กรในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ความสำคัญกับการคงความสมดุลในปัจจัยทั้ง 3 ด้าน
IRPC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะจากคณะทำงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (Task force on climate-related financial disclosure: TCFD) โดยประเมินตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และรายงาน Dow Jones Sustainability Index (DJSI) ซึ่งประกอบด้วย
ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical risks) : รูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ความแห้งแล้งและน้ำท่วมมีแนวโน้มมากขึ้น เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว อาจส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักเพิ่มขึ้น
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition risks)
• นโยบายและกฎหมาย: ครอบคลุมเป้าหมายและนโยบาย NDC ของประเทศไทย (ร่าง)พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย การเก็บภาษีคาร์บอนและระบบการค้าเพื่อสิทธิในการปล่อยคาร์บอน โดยครอบคลุมความเสี่ยงจากนโยบาย เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ และกฎหมายที่รัฐบาลไทยกำหนด
• ตลาด: ความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์และการเปลี่ยนแปลงความต้องการในแต่ละสถานการณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า เช่น ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลง
• เทคโนโลยี: เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำหรือพลังงานในอนาคตที่จะมาแทนที่ธุรกิจเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง
• ชื่อเสียง: ความต้องการและความคาดหวังของนักลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ
จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส IRPC ได้ตั้งสมมติฐานที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจภายใต้สถานการณ์ด้านภูมิอากาศ 2 สถานการณ์ (Scenario) ดังนี้:
• STEPS (2.3°C) สะท้อนถึงการตั้งค่านโยบายปัจจุบันโดยอิงจากการประเมินตามภาคส่วน (by Sector) รวมทั้งนโยบายที่รัฐบาลทั่วโลกประกาศใช้ โดยที่การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ประมาณ 2.8°C
• NZE (1.5 ° C) กำหนดวิธีการดำเนินงานที่เข้มข้นกว่าแต่สามารถทำได้สำหรับภาคพลังงานทั่วโลกเพื่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 ° C ที่คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero target)
IRPC เล็งเห็นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเริ่มโครงการต่างๆ เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ การกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร และโครงการด้าน Carbon Neutral ต่างๆ IRPC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดทำโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ IRPC ยังนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจของเรา โดยร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำขยะพลาสติกอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตของเรา
ในทางกลับกัน IRPC ยังได้พิจารณาถึงโอกาสที่อาจเกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EV เราพบว่าการซื้อรถใหม่เพื่อตอบรับการส่งเสริมการผลิต EV ของรัฐบาลจะส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น เช่น Polypropylene Compound & Composite ที่ใช้เพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการในการผลิตแบตเตอรี่ ความต้องการใช้อะเซทิลีนก็จะสูงขึ้นด้วย
Task Force for Climate Related Financial Disclosure (TCFD) [link]
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ไออาร์พีซี ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบตามความตกลงปารีสที่ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2559 รวมถึงการเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาดไปสู่ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ และเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ก้าวหน้าขึ้น (อาทิ แบตเตอร์รีและรถยนต์พลังงานไฟฟ้า) รวมถึงความเสี่ยงทางกายภาพที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น (อาทิ สภาพอากาศที่รุนแรง อุทกภัย และภาวะขาดแคลนน้ำ) อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ ไออาร์พีซี มองโอกาสในการเติบโตของธุรกิจผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งไออาร์พีซี ได้มีการลงทุนในโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง และแสวงหาโอกาสที่จะเป็นผู้นำด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
IRPC ได้กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้
จากการตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมี ไออาร์พีซี จึงพัฒนากลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้องค์กรเป็นผู้นำในเรื่องดังกล่าว โดยกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย การระบุความเสี่ยงและโอกาส การเทียบเคียงกับอุตสาหกรรมเดียวกัน การประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และการจัดตั้งประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้บริหาร ทั้งนี้ กลยุทธ์ดังกล่าวมีจุดประสงค์ที่จะทำให้เกิดการดำเนินการตามแผน และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน [Link]
กลยุทธ์ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ [Linlk]
ไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในหลากหลายรูปแบบ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและปรับเปลี่ยนแปลงตามสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และนำองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
ไออาร์พีซี ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้
นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งประกอบด้วยโครงการผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกโพลิสไตรีนที่ขยายตัวได้ (Expandable Polystyrene: EPS) และ โครงการ Combined Heat and Power Project (CHPI)
เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไออาร์พีซี ได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน โดยมีการปรับปรุงการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการความร้อนและไอน้ำ การลดไฟฟ้า การบริหารจัดการขนส่ง และโครงการต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ต่างๆ
ไออาร์พีซี ได้จัดโครงการแยกเป็น 2 ประเภทเพื่อการประหยัดพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งประกอบด้วยโครงการควบคุมการดำเนินงาน (Operational Control) และโครงการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Process Improvement)
นอกจากนี้ ในปี 2563 ไออาร์พีซี ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ ขนาด 12.5 เมกะวัตต์ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 550 พันล้านบาท ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ประมาณ 10,510 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ในปี 2564 IRPC เริ่มใช้ราคาคาร์บอนภายในองค์กรที่ 20 เหรียญสหรัฐต่อตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (20 USD/ TonCO2e) โดยใช้เป็นราคาเงา (Shadow price) เพื่อประเมินการลงทุนและโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราได้นำ ICP ไปใช้ในโครงการหมุนเวียนและการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน มากกว่า 12 โครงการ เช่น Meltblown expansion project for Polypropylene, and Global Hygiene: Spun bond Expansion project for Polypropylene เป็นต้น
และใช้ราคาคาร์บอนแบบ Implicit price ในการสะท้อนการสนับสนุนกิจกรรมด้าน CSR ที่ลดการปล่อยคาร์บอน เช่น โครงการติดตั้ง Solar cell สำหรับเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อพัฒนาด้าน Smart farming ที่หมู่บ้านหนองยาง ตำบลลำไทรโยง อำเภอนางรอง จ.บุรีรัมย์ และ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาคนพิการ สังฆมณฑลอุดรธานี บ้านศรีวัฒนา ต.บ้านม่วง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
ไออาร์พีซี กำหนดกรอบการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (Sustainable Water Management Framework) เพื่อจัดการน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ และวิเคราะห์และพัฒนามาตรการควบคุมความเสี่ยง
ไออาร์พีซี ริเริ่มกลยุทธ์การใช้น้ำตามหลักการ 321RPSD ดังนี้
ไออาร์พีซี ตระหนักถึงความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำเพื่อสอดคล้องกับนโยบายสาธารณะและความต้องการของชุมชนไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยดำเนินโครงการต่าง ๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่และชุมชนท้องถิ่น อาทิ การประหยัดการใช้น้ำ การสำรองน้ำในภาวะแล้ง การส่งน้ำประปา และการวางแผนป้องกันน้ำท่วมในชุมชน นอกจากนี้ ไออาร์พีซี เป็นสมาชิกศูนย์บริหารจัดการและปฏิบัติการน้ำภาคตะวันออก (Eastern Water War Room Management) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับหน่วยงานภาครัฐ (กรมชลประทาน การประปาส่วนภููมิภาค การนิคมอุุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เพื่อแก้ใขปัญหาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ไออาร์พีซี ยังมีส่วนร่วมกับคณะทำงานบริหารจัดการน้ำของกลุ่ม ปตท. (PTT Group Water Management Team: PTTWT) ในการวางแผนกลยุทธ์ บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความมั่นคงทางด้านน้ำเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต |
ไออาร์พีซี ได้นำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยได้รับการจัดสรรจากกรมชลประทานจังหวัดระยอง โดยนำมาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้ในระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบการผลิตน้ำหล่อเย็น การผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุ การใช้น้ำเค็ม (saltwater) เพื่อดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization: FGD) โดยมีการควบคุมคุณภาพน้ำก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกตามมาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ไออาร์พีซี จึงนำหลัก 3Rs มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
ไออาร์พีซี มีการบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับน้ำที่ครอบคลุมความเสี่ยงด้านกายภาพ อาทิ ปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ และความเสี่ยงด้านกฎระเบียบข้อบังคับ จากการประเมินความเสี่ยงด้วย Aqueduct Water Tool ของ World Resource Institute (WRI) พบว่า ไออาร์พีซี ตั้้งอยู่ในเขตความตึงเครียดของการใช้น้ำพื้้นฐาน (Baseline Water Stress)1 อยู่ในระดับต่ำ โดยผลการประเมินจะนำมาใช้ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำ และใช้ทำการศึกษาคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำในอนาคต
หมายเหตุ: ความตึงเครียดการใช้น้ำพื้นฐาน (Baseline Water Stress) หมายถึงสัดส่วนการดึงน้ำมาใช้ของทั้งพื้นที่ต่อปริมาณน้ำที่มีอยู่ทั้งหมดของพื้นที่นั้น ๆ โดยพิจารณาถึงการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนประกอบ (ที่มา: WRI Aqueduct 2014)
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้