การกำกับดูแลกิจการที่ดี
“ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อการบริหารจัดการ ที่เป็นเลิศ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นควบคู่ไปกับ การปกป้องผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัทฯ”
การกำกับดูแลกิจการมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และจริยธรรมขององค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในระยะยาว สำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ที่กิจกรรมทางธุรกิจอาจก่อให้เกิดข้อกังวลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กรอบการกำกับดูแลที่ดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการส่งเสริมการดำเนินกิจการอย่างรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการจัดการความท้าทายต่าง ๆ เพื่อบรรลุความเป็นเลิศในการดำเนินงานควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าให้แก่สังคม
ไออาร์พีซี ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการกำกับดูแลกิจการให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ
มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นควบคู่ไปกับการปกป้องผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัทฯ
นโยบาย
นับตั้งแต่ปี 2550 ไออาร์พีซีได้กำหนดให้การกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ โดยจัดทำนโยบายและคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานของไออาร์พีซี รวมถึงบริษัทในเครือ (Subsidiaries) กิจการร่วมค้า (Associates) และบริษัทร่วมทุน (Joint Ventures) ที่อยู่ภายใต้อำนาจการบริหารจัดการของไออาร์พีซี ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จาก [link]
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จาก [link]
เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมาย แนวปฏิบัติต่างๆ ตลอดจนสอดคล้องกับกลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งติดตามผลการปฏิบัติงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นประจำทุกปีผ่านการประชุมคณะกรรมการชุดย่อย ซึ่งได้รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบอย่างสม่ำเสมอทุกไตรมาส
ไออาร์พีซีนำหลักการการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการกำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ โดยโครงสร้างการจัดการหรือโครงสร้างหลักขององค์กรประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายจัดการ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น และฝ่ายจัดการมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
โครงสร้างการกำกับดูแลดังกล่าวช่วยให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปตามแนวทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ โครงสร้างดังกล่าวยังรวมไว้ซึ่งกลไกการตรวจสอบถ่วงดุล ที่มอบอำนาจในการควบคุมและการกำกับดูแลให้แก่คณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเหมาะสม รวมถึงมีการกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารให้สอดคล้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการบริษัทฯ ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง นโยบาย เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ และงบประมาณประจำปี โดยมอบหมายให้ฝ่ายจัดการนำไปดำเนินการเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย รวมถึงประเมินปัจจัยความเสี่ยงและกำหนดแนวทางบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อสร้างความน่าเชื่อให้กับระบบบัญชี การเงิน และการตรวจสอบขององค์กร
โครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่มีความรู้และประสบการณ์ที่สอดคล้องกับธุรกิจของไออาร์พีซี และจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ตามความรับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้ ไออาร์พีซีจึงกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการและคุณสมบัติที่สำคัญ ตลอดจนระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
สำหรับคุณสมบัติของกรรมการอิสระ จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อาทิ ไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการบริหารบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมายกับกรรมการท่านอื่น ไม่มีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ และไม่ใช่ผู้ตรวจสอบของบริษัท นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อความรัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้กรรมการอิสระถือหุ้นบริษัทไม่เกินร้อยละ 0.5 ของหุ้นที่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Rights) เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 1
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จาก [link]
คณะกรรมการชุดย่อย
คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการชุดย่อย 4 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละด้านขององค์กร
กรรมการอิสระ
ตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี หนึ่งในสามของคณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระ ที่มีวาระดำรงตำแหน่งได้คราวละ 3 ปี โดยกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระสามารถได้รับเลือกอีกครั้งโดยผู้ถือหุ้น อย่างไรก็ตาม สามารถดำรงตำแหน่งได้สูงสุด 3 วาระติดต่อกัน (หรือสูงสุด 9 ปี) โดยไม่มีข้อยกเว้น ทั้งนี้ คณะกรรมการอิสระจะต้องมีคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและข้อกำหนดของคณะกรรมการบริษัทฯ นอกจากนี้
ไออาร์พีซียังกำหนดให้กรรมการอิสระถือหุ้นบริษัทฯ ได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของหุ้นที่ออกจำหน่าย ซึ่งเคร่งครัดกว่าข้อกำหนดของกับข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 1
ไออาร์พีซีได้กำหนดนิยามของกรรมการอิสระไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ นอกจากนี้คณะกรรมการอิสระมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นระหว่างประชุมได้อย่างเป็นอิสระ โดยจะต้องเข้าประชุมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและธุรกิจขององค์กร เพื่อที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างอิสระเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนการป้องกันให้ไม่ให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างไออาร์พีซีกับผู้บริหาร กรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งที่จะกำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระที่สอดคล้องหรือเข้มงวดกว่าข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และเกณฑ์การประเมินของดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI)
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการอิสระ สามารถศึกษาได้จากเอกสารคำประกาศเกี่ยวกับคณะกรรมการอิสระ[link]
ประธานกรรมการ (Chairman)
เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ ไออาร์พีซีจึงกำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นคนละบุคคลกัน โดยกำหนดบทบาทความรับผิดชอบหลักของประธานกรรมการคือการเป็นผู้นำและให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการบริษัทฯ ด้วยการส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และการดำเนินงานบริษัทฯ ในภาพรวมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมาตรฐานสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำประชุมหารือที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเรื่องข้อเสนอโครงการ (Proposals) โดยคณะผู้บริหาร
กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะหัวหน้าสูงสุดของฝ่ายจัดการ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดไว้
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก [link]
ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะรักษาสมดุลระหว่างการดำเนินธุรกิจและการเสริมสร้างความยั่งยืนที่ครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการฯ จึงกำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลเพื่อบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนตั้งแต่ระดับคณะกรรมการจนถึงระดับปฏิบัติการ ในระดับคณะกรรมการบริษัทฯ มีคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืนทำหน้าที่ให้คำแนะนำและติดตาม
การพัฒนาด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ในขณะที่คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับบริหาร จะทำหน้าที่ในการกำหนดและทบทวนนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ตลอดจนพิจารณาแนวทางการดำเนินงานตามคำแนะนำของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ ในส่วนของการนำนโยบายเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ กำหนดให้เป็นความรับผิดชอบหลักของหน่วยงานพัฒนาความยั่งยืน ซึ่งอยู่ภายใต้แผนกความยั่งยืนของกิจการและวางแผนกลยุทธ์ ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนจะรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานต่อคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจำทุกเดือน และคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นผู้รายงานต่อไปยังคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืนเป็นรายไตรมาส
การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ
การแต่งตั้งคณะกรรมการเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อเสนอชื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา จากนั้นคณะกรรมการบริษัทฯ จะนำเสนอรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการบริษัทฯ ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ คณะกรรมการบริษัทฯ จะทำหน้าที่แต่งตั้งกรรมการใหม่จากการเสนอชื่อของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
สำหรับเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ จะพิจารณาจากความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของไออาร์พีซี รวมถึงความสอดคล้องกับตารางทักษะและประสบการณ์ (Board Skills Matrix) ตลอดจนความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งในด้านเพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ ความเชี่ยวชาญ ทักษะและ ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถ นอกจากนี้ กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการของไออาร์พีซียังรวมถึง
การตรวจสอบคุณสมบัติทางกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการอุทิศตนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ
ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย จะพิจารณาจากความรู้ความสามารถในด้านที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์การดำรงตำแหน่ง ตารางทักษะประสบการณ์และความหลากหลาย รวมถึงคุณสมบัติความเป็นอิสระของกรรมการ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ สำหรับการอนุมัติ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จาก [link]
นโยบายด้านความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board Diversity Encouragement)
ไออาร์พีซีส่งเสริมส่งเสริมความหลากหลายและความสมดุลของคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความหลากหลายด้านทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ เชื้อชาติ และเพศ ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายความหลากหลายในกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อสร้างความมั่นใจถึงกระบวนการที่โปร่งใสและสอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ โดยนโยบายดังกล่าวกำหนดให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสม เพื่อทดแทนตำแหน่งกรรมการบริษัทที่ว่างลง โดยพิจารณาจากภูมิหลังและประสบการณ์ โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกับธุรกิจของไออาร์พีซี ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงองค์ประกอบด้านความหลากหลายภายในคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเหมาะสม
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายด้านความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จากนโยบายการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีความหลากหลาย [link]
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายด้านความหลากหลายของพนักงาน สามารถศึกษาได้จากนโยบายด้านความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง [link]
ประสบการณ์ของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board Industry Experience)
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซีกำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างน้อย 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอย่างน้อย 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหรือบัญชีอย่างน้อย 1 คน โดยจะต้องคำนึงถึงวุฒิการศึกษา ทักษะการบริหาร และความสำเร็จและการยอมรับในระดับธุรกิจที่เทียบเคียงได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในนโยบายการแต่งตั้งกรรมการ
รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ของคณะกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จากเอกสารองค์ประกอบและคุณสมบัติ (Skills Matrix) ของคณะกรรมการบริษัทฯ จากรายงาน Performance Summary
ประสิทธิภาพของคณะกรรมการบริษัทฯ และการกำหนดค่าตอบแทน (Board Effectiveness and Compensation)
ไออาร์พีซีกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเป็นประจำทุกปี ซึ่งประกอบด้วย การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการรายบุคคล เพื่อทบทวนผลการดำเนินงาน ความท้าทาย และความสำเร็จอย่างครอบคลุมตลอดปีที่ผ่านมา โดยวิธีการประเมินด้วยตนเอง (Self-Evaluation) และวิธีการประเมินแบบไขว้ (Cross-Evaluation) รวมถึงกำหนดให้มีการประเมินโดยผู้ประเมินอิสระจากภายนอก (Independent Assessment) ทุก ๆ 3 ปี และรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนและเปิดเผยในรายงานประจำปีของบริษัทฯ โดยผลการประเมินจะถูกนำไปใช้สำหรับการพัฒนาผลการปฏิบัติงานในอนาคต นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังสนับสนุนให้กรรมการและผู้บริหารเข้าอบรมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและติดตามแนวโน้มของอุตสาหกรรม อันจะช่วยให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการและผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สามารถศึกษาได้จากรายงานประจำปีของบริษัทฯ
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีหน้าที่พิจารณาค่าตอบแทนคณะกรรมการ เสนอแนะต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเสนอจำนวนค่าตอบแทนต่อที่ประชุมสามัญประจำปีเพื่อขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น โดยมุ่งเน้นกระบวนการที่โปร่งใสตามแนวปฏิบัติที่ดีในการกำหนดค่าตอบแทน (Compensation Best Practices) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ทั้งนี้ ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทฯ จะเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้มั่นใจว่าค่าตอบแทนนั้นมีความเหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของธุรกิจไออาร์พีซี
ตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของไออาร์พีซีส่งรายงานประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีซึ่งตรวจประเมินโดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทั้งนี้ ผลการประเมินดังกล่าวถือเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ สำหรับเกณฑ์การประเมินนั้นจะถูกกำหนดตามกลยุทธ์องค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และวัดผลการดำเนินงานทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ตลอดจนผลงานด้านการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยกรรมการผู้จัดการใหญ่จะทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด 2 ประเภท ได้แก่ 1) เป้าหมายตัวชี้วัดองค์กร (Corporate KPI) (ร้อยละ 70 ของการประเมิน) และ 2) องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่ส่งเสริมความโปร่งใสและความยั่งยืนขององค์กร (ร้อยละ 30 ของการประเมิน) ซึ่งรวมถึงความสามารถในการเป็นผู้นำองค์กรและการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อไออาร์พีซีและผู้มีส่วนได้เสียอย่างทันท่วงที เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้ รายละเอียดเกณฑ์การประเมินกรรมการผู้จัดการใหญ่มีดังต่อไปนี้
เป้าหมายตัวชี้วัดองค์กร (Corporate KPI) |
ปัจจัยด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน (30%) |
|
|
การปรับเงินเดือนและโบนัสประจำปีของกรรมการผู้จัดการใหญ่ขึ้นอยู่กับผลการประเมินการดำเนินงานและการอนุมัติของคณะกรรมการบริษัทฯ นอกเหนือจากเป้าหมายที่ท้าทายดังกล่าว เกณฑ์การประเมินต่าง ๆ ถูกกำหนดให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ความรับผิดชอบขององค์กรต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม และ Balanced Scorecard ทั้งนี้ ค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ไออาร์พีซีนั้น สามารถเทียบเคียงได้กับค่าตอบแทนของอุตสาหกรรมเดียวกันหรืออุตสาหกรรมใกล้เคียง
นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังเปรียบเทียบผลการประเมินการดำเนินงานของบริษัทฯ กับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านการเงิน เพื่อประเมินค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่เทียบกับผลการดำเนินงานทางการเงินขององค์กร โดยคำนวณตัวชี้วัดด้านการเงินของไออาร์พีซีและบริษัทที่ใกล้เคียงในช่วงระยะเวลา 3 ปี และเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานแบบถ่วงน้ำหนักกับระดับผลตอบแทนค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ และค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางการเงินเชิงเปรียบเทียบของบริษัทฯ
ไออาร์พีซีเปิดเผยค่าตอบแทนคงที่และแบบผันแปร (Fixed and Variable Compensation) ของกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหาร โดยมีรายละเอียดดังนี้
ค่าตอบแทน (ล้านบาท) |
ผู้บริหารระดับ 1 (Executive Level 1) |
|||
2563(7 ราย) |
2564(6 ราย) |
2565(8 ราย) |
2566(6 ราย) |
|
ค่าตอบแทน |
||||
เงินเดือน |
33.59 |
30.85 |
36.15 |
35.24 |
โบนัส |
15.3 |
6.7 |
18.7 |
6.5 |
ค่าตอบแทนอื่น ๆ |
||||
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
4.66 |
4.42 |
5.21 |
5.15 |
รวม |
53.55 |
41.97 |
60.06 |
45.62 |
Note:1. ผู้บริหารระดับ 1 (Executive Level 1) ตามคำอธิบายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกอบด้วย i) กรรมการผู้จัดการใหญ่ ii) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในแต่ละหน่วยงาน สายบัญชีและการเงิน สายกลยุทธ์องค์กร สายพาณิชยกิจและการตลาด สายบริหารและพัฒนาศักยภาพองค์กร สายนวัตกรรมและปฏิบัติการเพื่อความเป็นเลิศ และสายปฏิบัติการผลิตปิโตรเคมีและการกลั่น 2. ค่าตอบแทนทั้งหมดของกรรมการผู้จัดการใหญ่จากไออาร์พีซี และปตท.
นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้เปิดเผยค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานของค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานทุกคน รวมถึงอัตราส่วนระหว่างค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานของค่าตอบแทนพนักงานและค่าตอบแทนประจำปีของกรรมการผู้จัดการใหญ่ตามรายละเอียดที่นำเสนอในตารางด้านล่าง
ค่าตอบแทน (บาท) |
2563 |
2564 |
2565 |
2566 |
ค่าตอบแทนประจำปีของกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
11,215,592 |
16,427,919 |
19,826,122 |
13,312,803 |
ค่ามัธยฐานของค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานทั้งหมด ยกเว้นกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
1,170,690 |
1,156,338 |
1,585,298 |
1,242,282 |
ค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานทั้งหมด ยกเว้นกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
1,366,733 |
1,273,372 |
1,882,039 |
1,343,906 |
อัตราส่วนระหว่างค่ามัธยฐานของค่าตอบแทนพนักงานและค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
11.08 |
10.49 |
7.12 |
10.72 |
อัตราส่วนระหว่างค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทนพนักงานและค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
9.49 |
9.53 |
5.99 |
9.91 |
ไออาร์พีซีกำหนดกฎการเรียกคืนค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/7 กรรมการและผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวังและความซื่อสัตยส์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทฯ มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ผู้บริหารสามารถถูกดำเนินคดีตามมาตรา 89/18 โดยไม่ขัดแย้งกับมาตรา 89/19 ในกรณีที่สามารถพิสูจน์ว่าไม่มีการปฏิบัติตามมาตรา 89/7 หรือถ้ามีการประพฤติผิดในทางตรงและทางอ้อม ซึ่งในกรณีนี้ ไออาร์พีซีกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดคืนค่าตอบแทนที่เคยได้รับทั้งหมด
เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของในองค์กร (Sense of Ownership) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่พึงประสงค์และวัฒนธรรมองค์กร ภายใต้แนวคิด IRPC DNA กรรมการผู้จัดการใหญ่จึงสนับสนุนให้พนักงาน โดยเฉพาะผู้บริหาร สามารถถือหุ้นของบริษัทฯ ได้ตามความสมัครใจ ซึ่งถือเป็นการสร้างความความมุ่งมั่นของพนักงานต่อองค์กรและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายในหรือผิดจรรยาบรรณ โดยรายละเอียดจำนวนหุ้นที่ถือโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหาร มีดังนี้
ตำแหน่ง |
ชื่อ |
เท่าของฐานเงินเดือน |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
นายกฤษณ์ อิ่มแสง |
0 |
ค่าเฉลี่ยของสมาชิกระดับผู้บริหาร |
ระดับผู้บริหารหมายถึง ตำแหน่งรองจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งเทียบเท่ากับระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่
|
2 |
คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารแต่ละรายจัดทำรายงานเปิดเผยรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำกับดูแลด้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยจัดส่งให้เลขานุการบริษัทฯ จัดเก็บ รวบรวม พร้อมทั้งสำเนาส่งประธานกรรมการบริษัทฯ และประธานกรรมการตรวจสอบเพื่อใช้ในการตรวจสอบและกำกับดูแลด้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์
นอกเหนือจากการรายงานของกรรมการและผู้บริหารตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด ไออาร์พีซียังกำหนดให้พนักงานของบริษัทฯ รวมถึงบริษัทในเครือ บริษัทร่วมทุน และบริษัทที่อยู่ภายใต้อำนาจการบริหารจัดการของไออาร์พีซี เปิดเผยรายการที่เป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ หรือกลุ่มบริษัทไออาร์พีซีด้วยเช่นกัน
บริษัทฯ ได้กำหนดให้คณะกรรมการและผู้บริหาร ซึ่งหมายรวมถึงคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ซื้อ ขาย โอนหรือรับโอน รวมทั้งกำหนดนโยบายในการเปิดเผยหรือรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ บริษัทฯ จัดให้มีนโยบายแจ้งเวลางดซื้อขายหลักทรัพย์ (Blackout Period) ก่อนการประกาศแจ้งข่าวงบการเงิน 30 วัน และหลังประกาศข่าวงบการเงิน 2 วัน
ทั้งนี้ ในปี 2566 และตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ไม่พบประวัติการประพฤติผิดของคณะกรรมการบริษัทฯ หรือผู้บริหาร ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2563 หรือพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 รวมถึงไม่พบประวัติในการประพฤติผิดอื่นๆ ดังนี้
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหาร สามารถศึกษาได้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
ไออาร์พีซีกำหนดนโยบายให้ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือ คือ 1 หุ้นต่อ 1 เสียง โดยไม่มีการเสนอหุ้นพิเศษ (Gloden Share) หรือหุ้นสองประเภท (Dual Class Shares) ในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ในส่วนของการออกตราสาร Non-voting Depository Receipt (NVDR) ผู้ถือ NVDR ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของบริษัทฯ ดังนั้น ผู้ถือ NVDR จะไม่มีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของ NVDR ได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [link]
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้