กลยุทธ์สู่ความยั่งยืนและการดำเนินงาน

ในปี 2558 กลุ่มไออาร์พีซี ได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการ

แนวทางการบริหารจัดการ

ในปี 2558 กลุ่มไออาร์พีซี ได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความยั่งยืนที่เป็นเลิศ (Sustainability Management Excellence) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานที่มีหลักการตามมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่ควบคู่ไปกับการสร้างความสมดุลด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ตามระบบการบริหารจัดการการปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Operational Excellence Management System: OEMS)

การบริหารจัดการความยั่งยืนที่เป็นเลิศ

ในปี 2563 ในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นทางธุรกิจในระยะยาว ไออาร์พีซีมีการนำประเด็นสำคัญเชิงกลยุทธ์ 3 เรื่อง ที่ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Strategy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการสร้างคุณค่าเพื่อสังคม (Creating Social Value) มาจัดทำกรอบกลยุทธ์การบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในระดับองค์กร (Corporate Sustainability Strategy) ผ่านกลยุทธ์ 3Cs โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Strategy) มุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG, Green House Gas) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดอุณหภูมิโลกร้อน และสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ลำดับที่ 13: การรับมีอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านกระบวนการผลิต การพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  2. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและนำของเสียกลับมาเพิ่มมูลค่า (turning waste into value) สนับสนุนเป้าหมาย SDGs ลำดับที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป็นเป้าหมายหลัก
  3. การสร้างคุณค่าเพื่อสังคม (Creating Social Value) การสร้างผลกระทบเชิงบวกคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคม ผ่านโครงการความรับผิดชอบทางสังคม และผลิตภัณฑ์ บริการ เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ลำดับที่3: ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน

กลยุทธ์ความยั่งยืนของไออาร์พีซี

การเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

ไออาร์พีซี นำเสนอผลการดำเนินงานและเป้าหมายด้านความยั่งยืน เพื่อแสดงความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยไออาร์พีซี กำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนบนพื้นฐานการรักษาความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการเปิดเผยในรายงานความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี โดยมีการรายงานตามหลักการ (Principles for Defining Report Content) ของ GRI Standards ประกอบด้วยบริบทความยั่งยืน (Sustainability Context) ประเด็นที่มีนัยสำคัญ (Materiality) ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Completeness) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Inclusiveness) และความสอดคล้องกับPrinciples for Defining Report Quality นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานอื่นๆ ได้แก่ ความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย (Accuracy) ความสมดุลของผลการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบ (Balance) ความชัดเจนของข้อมูลและเข้าใจง่ายต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม (Clarity) การมีข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้เพื่อแสดงถึงแนวโน้มของการดำเนินงานที่ผ่านมา (Comparability) ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและเนื้อหา (Reliability) และขอบเขตของเวลาในการรายงานเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย (Timeliness) ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อมูลที่นำเสนอเป็นไปตามมาตรฐานสากล ไออาร์พีซี ได้มีการทวนสอบความถูกต้องครบถ้วนตามหลักการรายงาน GRI Standard โดยผู้ทวนสอบภายนอก อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน