ไออาร์พีซีกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่นับวันจะเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากองค์กรระดับสากลมากขึ้นตามลำดับ ไออาร์พีซี ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน จากการที่ไออาร์พีซีเป็นองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจที่มีโอกาสอาจทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กอรปกับข้อกำหนดด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีความเข้มข้นมากขึ้น จึงทำให้ไออาร์พีซีต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านดังกล่าว และพร้อมที่จะมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน โดยยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าในการดำเนินธุรกิจของไออาร์พีซี จึงเป็นที่มาของอุดมการณ์ และแนวทางในการดำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่หลากหลายตลอดปี 2563

แนวทางการบริหารจัดการ 

ไออาร์พีซี กำหนดกลยุทธ์และแผนงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งหวังให้ไม่เกิดข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของไออาร์พีซี และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในโครงการด้านสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และแนวปฏิบัติสากลด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเกี่ยวข้องอื่น ๆ อาทิ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) แนวปฏิบัติองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสำหรับบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ปฏิญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรื่องหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม (ICESC) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (ICERD) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการกระทำหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (UNCAT) และ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD)

ในปี 2563 ไออาร์พีซี ยังได้ทบทวนนโยบายต่างๆ ของไออาร์พีซี และทำการปรับปรุงเพื่อให้สอดรับกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการเป็นบรรษัทพลเมืองโลกที่ดีตามแนวทาง UNGC นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

ในปี 2563 ไออาร์พีซีได้เสริมความเข้มแข็งของกลยุทธ์ ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการดำเนินโครงการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ การปรับปรุงนโยบายต่างๆ ของบริษัทให้สอดรับกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน การสร้างความตระหนักและความสำคัญในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้ผู้บริหารและพนักงาน และขยายผลไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ อันได้แก่ ชุมชน คนในท้องถิ่น สังคม คู่ธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจในสายโซ่อุปทาน และบริษัทร่วมทุน (Joint Venture)  การผลักดันการสร้างเครือข่ายภาคีด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับ GCNT โดยเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน GCNT เป็นต้น นอกจากนี้ ยังกำหนดผู้รับผิดชอบสำหรับกำหนดทิศทาง สนับสนุนนโยบายการจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนทั่วทั้งองค์กร ส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้ขยายเครือข่ายความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้างความตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน  เป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับตั้งแต่ คณะกรรมการการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงานทุกหน่วยในองค์กร เป็นต้น

กระบวนการการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน

ไออาร์พีซีกำหนดกลยุทธ์เพื่อทำให้เกิดกระบวนการที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยยึดหลักการ 3 ด้านได้แก่ Protect, Respect และ Remedy บนพื้นฐานของการดำเนินงานด้านการสื่อสาร (Communication) การสร้างความตระหนัก (Awareness) และการสร้างเครือข่ายภาคี (Networking)

  • Protect การนำหลักการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยเน้นการกำกับดูแลผ่านนโยบายของไออาร์พีซี และบริษัทในเครือ โดยมีการสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนของไออาร์พีซี ไปยังบุคลากรทั่วทั้งองค์กรรวมทั้งบริษัทคู่ค้า คู่ธุรกิจ และบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) พร้อมจัดทำคู่มือการบริหารจัดการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Management System) และคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment Guideline) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่กลุ่มผู้มีความรับผิดชอบ 4 กลุ่ม สำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร หน่วยงานผู้รับผิดชอบการดำเนินการด้านสิทธิมนุษชน และ พนักงาน เพื่อให้มีการดูแลผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
  • Respect การแสดงถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน ไม่อดทนต่อการเลือกปฏิบัติ และยอมรับในความแตกต่าง ตลอดจนมุ่งมั่นป้องกันการคุกคามในทุกรูปแบบผ่านการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งครอบคลุมถึงบริษัทย่อย บริษัทร่วมทุน (Joint Venture) โดยผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ พนักงาน สังคม คู่ธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจในสายโซ่อุปทานของกลุ่มไออาร์พีซี อีกทั้ง คำนึงถึงกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ชุมชน/คนในท้องถิ่นลูกค้า/ผู้บริโภค กลุ่มเพศทางเลือก (LGBQI+) ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ ตามแนวปฏิบัติระดับสากลที่เป็นที่ยอมรับ
  • Remedy การฟื้นฟูเยียวยากรณีเกิดเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน การตรวจสอบข้อร้องเรียน และการกำหนดมาตรการบรรเทาแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการชดใช้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นธรรม

PROTECT

นโยบายและคู่มือการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน

ไออาร์พีซี ยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติตามกรอบนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของไออาร์พีซี และกลุ่มไออาร์พีซี ที่นำหลักการและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล รวม 12 ฉบับ มาเป็นพื้นฐานของหลักปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงการเคารพในสิทธิ แรงงาน สิทธิสตรี สิทธิเด็ก และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์รวมถึงเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้ที่ได้รับการรับรองหรือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อควบคุมและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของไออาร์พีซี ทั้งบริษัทย่อย คู่ธุรกิจ คู่ค้าธุรกิจ และบริษัทร่วมทุน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ แนวปฏิบัติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UNGP) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) แนวปฏิบัติองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสำหรับบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ปฏิญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรื่องหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม (ICESC) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (ICERD) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการกระทำหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (UNCAT) และ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD)

ในปี 2563 ไออาร์พีซี ยังได้ทบทวนนโยบายต่างๆ ของไออาร์พีซี และทำการปรับปรุงเพื่อให้สอดรับกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการเป็นบรรษัทพลเมืองโลกที่ดีตามแนวทาง UNGC นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

นโยบายสิทธิมนุษยชน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [Link]

นโยบายส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างในองค์กร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [Link]

RESPECT

การประเมินความเสี่ยง และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 

ไออาร์พีซี ทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามแนวปฏิบัติของ “คู่มือระเบียบวิธีการประเมินความเสี่ยง และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Risks and Impact Assessment Methodology) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจของไออาร์พีซี และบริษัทย่อย ธุรกิจที่ไออาร์พีซีมีอำนาจและไม่มีอำนาจควบคุมจัดการ และคู่ค้าหลัก (Critical Suppliers) ซึ่งครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งพื้นที่เขตประกอบการฯ และพื้นที่ปฏิบัติการคลังน้ำมันทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ คลังน้ำมันชุมพร คลังน้ำมันอยุธยา คลังน้ำมันพระประแดง คลังน้ำมันระยอง และคลังน้ำมันแม่กลอง รวมไปถึงการระบุความเสี่ยงจากโครงการลงทุนใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2564 ผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็นความคิดเห็นของประชาชนที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษา โดยผลจากการประเมินความเสี่ยงทั้งหมดได้นำมาใช้ในการวิคราะห์ และกำหนดมาตรการลดผลกระทบ ฟื้นฟู และเยียวยา ทั้งนี้ในปี 2564 ไม่พบประเด็นความเสี่ยงในระดับสูง (Salient Issues) อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ได้แก่ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเขตประกอบการฯ ความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบเขตประกอบการฯ การสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้า และการบริหารจัดการของเสีย ซึ่งไออาร์พีซี ยังมีมาตรการลดความเสี่ยง ควบคุมดูแล และให้ความสำคัญในการดำเนินการติดตามมาตรดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ในกระบวนการทบทวนความเสี่ยงอย่างรอบด้านนั้น ไออาร์พีซี ได้กำหนดขอบเขตและประเด็นสำคัญ และดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนกับองค์กร เพื่อใช้ในการติดตามและประเมินความสำเร็จของโครงการด้านสิทธิมนุษยชนตามขอบเขตที่ระบุไว้

รายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน [Click]

การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของพนักงาน

ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของพนักงาน และสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดโอกาสที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังคงมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการที่เป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ต่อพนักงานในทุกรูปแบบทั้งด้านสวัสดิการและการดูแลสุขภาพ รวมถึงการกำหนดแนวทางการลดการมีอคติต่อหัวหน้างาน และความไม่เป็นธรรมระหว่างหัวหน้างานและลูกน้องผ่านการประเมิน 180 องศา นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังมุ่งมั่นส่งเสริมการเติบโตในหน้าที่การงานของพนักงานหญิง โดยสามารถติดตามการวัดผลจากสัดส่วนของผู้บริหารหญิงขององค์กรให้มีความต่อเนื่องทุกปีจากหัวข้อ การบริหารทรัพยากรบุคคล

การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)

ไออาร์พีซี สื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมให้คู่ค้ารายหลักปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ไออาร์พีซีมีการประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้า คู่ธุรกิจในด้านการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนตามคู่มือการดำเนินงานจัดหาอย่างยั่งยืน ในหมวดจรรยาบรรณด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน โดยในปี 2564 มีการกำหนดมาตรการตรวจสอบคุณสมบัติและอายุของผู้รับเหมาก่อนเข้าปฏิบัติงานภายในโรงงาน เพื่อเป็นการป้องกันการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ การฝึกอบรม สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การจัดสัมมนาคู่ค้าด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) รวมถึงการประเมินตนเองโดยการตอบแบบสอบถาม ก่อนการตรวจประเมิน ณ พื้นที่ประกอบการของคู่ค้า (ESG Onsite Audit)

REMEDY

กระบวนการจัดการข้อร้องเรียน

ไออาร์พีซีกำหนดช่องทางการร้องเรียน และกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการกำหนดผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการเรื่องร้องเรียน ไปจนถึงการแจ้งผลการแก้ไขเหตุร้องเรียนไปยังผู้ร้องเรียน

ขั้นตอนการจัดการข้อร้องเรียน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ หัวข้อจริยธรรมและความโปร่งใส

 โครงการที่ดำเนินงาน

เพื่อบรรลุเป้าหมาย การไม่มีข้อร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในปี 2564 ไออาร์พีซี ดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกับชุมชนรอบเขตประกอบการฯ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มเปราะบางที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของไออาร์พีซีมากที่สุด ทั้งในส่วนของการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมด้านสุขภาพแก่ชุนชนโดยรอบเขตประกอบการ

ทั้งนี้ ในปี 2564 ไออาร์พีซี ไม่มีข้อร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

การเป็นองค์กรต้นแบบ และการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความตระหนัก (Awareness) และสร้างเครือข่าย (Networking) ด้านสิทธิมนุษยชน

นอกเหนือจากแผนงานตามเป้าหมายการไม่มีข้อร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้วนั้น ไออาร์พีซี ยังมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน โดยการใช้หลักการด้านสิทธิมนุษยชน ผนวกเข้าในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดให้มีการสื่อความกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ คู่ธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจในสายโซ่อุปทาน ผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วงทุกราย ให้มีการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบคุณสมบัติและอายุของผู้รับเหมาก่อนเข้าปฏิบัติงานภายในโรงงาน เพื่อเป็นการป้องกันการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ เป็นต้น

นอกเหนือจากการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้กิจกรรมธุรกิจของไออาร์พีซีแล้ว ไออาร์พีซี ยังดำเนินโครงการที่เสริมสร้างเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ โดยมีส่วนร่วมทั้งในระดับประเทศและสากล

รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำ ปี 2563 (Human Rights Awards)

ไออาร์พีซี ได้รับรางวัลชนะเลิศองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี พ.ศ. 2564 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจัดงานโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจทุกขนาด นำหลักการสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานทุกระดับ เคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน ป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิต่อบุคลากรในหน่วยงาน ลูกค้า ผู้บริโภค ตลอดจนลดความเสี่ยงหรือข้อร้องเรียนอันเกิดจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยในปี 2564 ไออาร์พีซี ได้นำเสนอแนวทางการนำหลักสิทธิมนุษยชนมาผสมกับวัฒนธรรมองค์กรและบูรณาการร่วมกับกระบวนการทำงานในการผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ สร้างคุณค่าร่วมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ดี และการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้อย่างยั่งยืน

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน