การยกระดับการกำกับดูแลกิจการ

UN Global Compact

ไออาร์พีซี เข้าร่วมเป็นสมาชิก UN Global Compact

คณะกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ในฐานะของบรรษัทพลเมืองที่ดีแห่งหนึ่ง และมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมสรรสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้เกิดขึ้น คณะกรรมการฯ จึงได้สนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิก UN Global Compact ด้วยความสมัครใจ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 54 ซึ่งเป็นหนี่งในบริษัทและองค์กรชั้นนำทั่วโลกกว่า 10,000 แห่งจาก 145 ประเทศที่เป็นสมาชิก UN Global Compact อยู่ในขณะนี้

การเป็นสมาชิก UN Global Compact นี้ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการเป็นบรรษัทพลเมืองที่ดีของโลกที่จะมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้หลักสากล 10 ประการ อันประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และ การต้านทุจริต เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างเสริมและพัฒนา สังคมโลกให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข บริษัทฯ มีปรัชญาการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ให้เจริญก้าวหน้าเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งมั่นสร้างสมดุลประโยชน์ของ ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้บังเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องและเป็นไปตามหลักสากล 10 ประการดังกล่าว

ดังนั้น สิ่งที่บริษัทฯ จะได้รับเพิ่มเติมจากการเข้าเป็นสมาชิก UN Global Compact ในคราวนี้ ก็คือ สมาชิกพลเมืองโลกจะได้รับรู้ถึงนโยบายและการปฏิบัติ หรือกิจกรรมทั้ง 4 ด้านของบริษัทฯ ที่ได้ดำเนินการและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต ผ่านการรายงานกิจกรรมต่างๆ ที่ ไออาร์พีซี ได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมหลักสากลทั้ง 10 ประการอย่างเป็นรูปธรรม ที่ ไออาร์พีซี จะต้องจัดส่งไปยัง UN Global Compact เป็นประจำทุกปี

ไออาร์พีซี จึงมุ่งมั่นให้พนักงานทุกคนร่วมมือร่วมใจกันลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อผลลัพท์ที่ได้จะยั่งยืน (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.unglobalcompact.org)

Download: รายงานความก้าวหน้า Communication on Progress 2564

หลักเกณฑ์ของโปรแกรมขั้นสูง
การดำเนินการโดยบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC)
ตำแหน่งระบุในรายงาน
หลักเกณฑ์ที่ 1: COP
อธิบายถึงการนำหลักการ มาดำเนินการประยุกต์ใช้ ในหน่วยงานและ หน่วยธุรกิจ
ไออาร์พีซี มีปรัชญาการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยกำหนด นโยบาย แผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ และแผนการพัฒนาและปรับปรุงการ บริหารจัดการเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงหลักสิทธิ มนุษยชน สิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต เพื่อให้ เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงได้นำมาจัดทำเป็นนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ที่ดี และนโยบายและมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนของไออาร์พีซีและบริษัทในเครือปฏิบัติ เพื่อ ผลักดันการเติบโตของบริษัทฯ ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจาก ไออาร์พีซี ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้ มีการสร้างกลไกและหลักการในการดำเนินธุรกิจผ่านแผนกลยุทธ์ ธุรกิจ การจัดการความเสี่ยง และการประเมินความสำคัญ ตลอดจนการประเมิน ความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน การกำกับดูแลกิจการที่ดี การจัดการคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้การปฏิบัติงาน การติดตามตรวจสอบ และการรายงานของ หน่วยงานของไออาร์พีซี รวมทั้งบริษัทที่ไออาร์พีซีถือหุ้นและมีอำนาจควบคุม เป็นไปตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังได้ริเริ่มพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนอื่นๆ เพื่อสร้างสำนึกและจริยธรรมทางธุรกิจขยายไปสู่ลูกค้า และ คู่ค้าพันธมิตรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมือ่นที่เกี่ยวเนื่อง ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อความผาสุกของสังคมไทยและประชาคมโลก
1. สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่
2. การบริหารจัดการความยั่งยืน
3. การบริหารจัดการความเสี่ยง
4. การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี
5. การบริหารจัดการและการปรับตัว ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
6. การบริหารจัดการน้ำ
7. พนักงานของเรา
8. การพัฒนาโครงการใหม่
9. การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
10. การพัฒนาและการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน
11. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
หลักเกณฑ์ที่ 2: COP
อธิบายการดำเนินงาน ตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ไออาร์พีซี มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอย่างยั่งยืนของคู่ค้า เพื่อใช้ เป็นแนวทางสำหรับนำไปปฏิบัติ ซึ่งคู่ค้าจะต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณด้าน ธุรกิจที่มุ่งเน้นการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ การรับรอง คุณภาพด้วยมาตรฐานที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและสากล จรรยาบรรณด้าน สิทธิมนุษยชนและแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าและผู้รับเหมาเพื่อ ให้เกิดการร่วมมือในการพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และแก้ปัญหาและ ลดผลกระทบที่อาจส่งผลต่อธุรกิจและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารนโยบาย แนวทาง และความสำคัญของการ จัดการความยั่งยืน พร้อมกับการรณรงค์ให้เกิดการปฏิบัติไปยังหุ้นส่วน ธุรกิจ คู่ค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชน และเยาวชน ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ จดหมายข่าว การประชุมต่างๆ กิจกรรมที่ทำร่วมกัน รวมทั้งการเผยแพร่ ผ่านสื่อมวลชน โดยห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ได้อธิบายไว้ในบทธุรกิจของเรา
1. การบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน
2. การบริหารจัดการความยั่งยืน
3. ธุรกิจของเรา
หลักเกณฑ์ที่ 3: COP
อธิบายความมุ่งมั่น กลยุทธ์ หรือนโยบายใน ด้านสิทธิมนุษยชน
ไออาร์พีซี ดำเนินธุรกิจโดยเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนตาม กฎหมายแรงงานของประเทศไทย และได้เข้าร่วมเป็นภาคีในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ขององค์การสหประชาชาติ โดย ไออาร์พีซี เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตามที่ได้ระบุไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ของบริษัทฯ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และแนวทางปฏิบัติที่ดี และรวบรวมไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Handbook) นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังได้นำหลักสิทธิมนุษยชนมาเป็นแนวทางการ ปฏิบัติ ได้แก่ การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานทาส ความปลอดภัย ของชีวิตและทรัพย์สิน การปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ การจ้างงานอย่างเป็นธรรม ความปลอดภัยของสถานปฏิบัติงาน สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน การจัดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ของพนักงาน และการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนหนึ่ง จะต้องเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการหรือด้อยโอกาสทางสังคมเพื่อให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้มีความเข้มแข็งและแข็งแรงพอที่จะ ดำเนินชีวิตและใช้สิทธิของตนเองได้อย่างเต็มที่ ผนวกเข้าเป็นนโยบาย กลยุทธ์ และกระบวนการทำงานขององค์กร เพื่อให้มั่นใจถึงการเคารพ และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพ
1. พนักงานของเรา
2. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
3. การพัฒนาและการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน
4. การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
5. www.irpc.co.th
หลักเกณฑ์ที่ 4: COP
อธิบายถึงระบบบริหาร จัดการที่มีประสิทธิผลซึ่ง คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน
ไออาร์พีซี มีระบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศ ภายใต้หัวข้อ การบริหารจัดการ ความยั่งยืน (Operational Excellence Management System : Sustainability Management Element) เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ที่สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานไออาร์พีซี ผู้รับเหมา และพนักงานของคู่ค้า การพัฒนาศักยภาพพนักงาน ไออาร์พีซี มีระบบบริหารจัดการทรัพยากร บุคคล โดยใช้การประเมินผลแบบรอบด้าน (360 องศา) เพื่อการพัฒนา กลุ่มผู้บริหารระดับกลางของบริษัทฯ และการประเมินคุณลักษณะของ จิตใต้สำนึกรายบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงาน และแนวทางการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ และการพัฒนาบุคลากรให้มี ความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เหมาะสมและเป็นธรรม นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงาน ใช้สิทธิลูกจ้างในการมีส่วนร่วมแสดงข้อคิดเห็น ข้อกังวลต่างๆ รวมทั้ง มีกระบวนการในการตรวจสอบข้อร้องเรียนที่เป็นธรรม ปลอดภัยต่อผู้ ร้องเรียนโดยคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดย่อยของ คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการตรวจ สอบที่เป็นธรรมและรัดกุมรอบคอบ ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการจัดการ ความเสี่ยงของชุมชน เพื่อลดผลกระทบและเพิ่มความปลอดภัยอย่างสูงสุด ให้แก่ชุมชนรอบข้าง โดยใช้กลยุทธ์ Happy Rayong สำหรับการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ไออาร์พีซี มีระบบในการสำรวจ ความต้องการและระบบการรับเรื่องร้องเรียน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บริการให้มีคุณภาพและตรงต่อความต้องการมากที่สุด
1. พนักงานของเรา
2. การพัฒนาและการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน
3. การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
4. การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
หลักเกณฑ์ที่ 5: COP
อธิบายถึงกลไกการ ประเมินและเฝ้าระวังที่มี ประสิทธิผลซึ่งคำนึงถึง หลักสิทธิมนุษยชน
ไออาร์พีซี มีการคำนึงถึงการติดตามตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิ มนุษยชนผ่านกระบวนการรับข้อคิดเห็นและเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภายในและภายนอก โดยตั้งเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยมีการกำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารในการรับเรื่องร้องเรียน หรือคำแนะนำต่างๆ ได้แก่ อีเมล์ เว็บไซต์ ตู้ป.ณ. 35 และทาง โทรศัพท์ ทั้งนี้ การกำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้มีส่วน ได้เสียกับทางบริษัทฯ ทางเว็บไซต์นั้น ทำให้ผู้ติดต่อสามารถสื่อสารทาง ตรงกับประธานกรรมการตรวจสอบและประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ ที่ดีของบริษัทฯ ได้ ไออาร์พีซี มีการประเมินผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน มี การดำเนินการผ่านระบบมาตรฐาน ISO 14001 และในปี 2557 เริ่ม มีการใช้เกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนในการกลั่นกรองคุณสมบัติของคู่ค้า ของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัดโดยเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายแรงงานไทย
1. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
2. พนักงานของเรา
3. การบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน
หลักเกณฑ์ที่ 6: COP
อธิบายถึงความมุ่งมั่น กลยุทธ์หรือนโยบายว่าด้วย สิทธิแรงงาน
ไออาร์พีซี เคารพหลักกฎหมายแรงงาน และสนับสนุนแรงงานสัมพันธ์ โดยปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานของไทยอย่างเคร่งครัด ซึ่งสอดคล้อง กับหลักแรงงานสากล อาทิ International Labour Organization’s Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังมีการระบุสิทธิแรงงานในนโยบายการกำกับดูแล กิจการ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และแนวทางการปฏิบัติที่ดี รวม ทั้งรวบรวมไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ไออาร์พีซี มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อให้พนักงาน และองค์กรสามารถเติบโตควบคู่กันได้อย่างยั่งยืน โดยดำเนินการตาม กรอบการดำเนินงานเพื่อความเป็นเลิศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Capital Excellence Roadmap) ปี 2556-2563 นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีการจัดทำคู่มือการดำเนินงานจัดหาอย่างยั่งยืน ซึ่ง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเสริมสร้าง สิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม หุ้นส่วนธุรกิจและคู่ค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแนวทางในการจัดซื้อ จัดจ้างที่คำนึงถึงประเด็นด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
1. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
2. พนักงานของเรา
หลักเกณฑ์ที่ 7: COP
อธิบายถึงระบบบริหาร จัดการที่มีประสิทธิผลซึ่ง คำนึงถึงหลักสิทธิแรงงาน
ไออาร์พีซี มีการใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร โดยกำหนด ให้เป็นนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่พนักงานทุกระดับต้องยึดถือและ ปฏิบัติ รวมทั้ง มีการจัดทำคู่มือแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อที่จะ ป้องกันความสูญเสียด้านทรัพย์สิน ทรัพยากรบุคคล การเงิน ชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนมีระบบการประเมินพนักงานของ ไออาร์พีซี รวมทั้งการให้รางวัล ผลตอบแทน และการลงโทษอยู่บนพื้นฐานของหลักคุณธรรมและความ เป็นธรรม ปราศจากความลำเอียงและสามารถอธิบายได้ โดยการประเมิน ความสามารถของพนักงานเป็นพื้นฐานของการพิจารณาค่าตอบแทน โดยมีสายงานทรัพยากรบุคคลรับผิดชอบในการดำเนินงานด้านแรงงาน ของบริษัทฯ และมีนโยบายให้ผู้บริหารทุกคนดูแลพนักงานใต้บังคับบัญชา พร้อมทำหน้าที่เป็นเสมือนฝ่ายบุคคลที่จะต้องสื่อสาร ทำความเข้าใจและ ช่วยรักษาสิทธิประโยชน์ของพนักงานอย่างถูกต้องและเป็นธรรม การปฐมนิเทศพนักงานใหม่จะมีการแจ้งเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน รวมทั้งมี การฝึกอบรมเกี่ยวกับสิทธิแรงงานให้แก่พนักงานและผู้บริหารให้ทราบถึง สิทธิและความรับผิดชอบที่สอดคล้องกับกฎของบริษัทฯ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง อีกทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานใช้สิทธิลูกจ้างในการมีส่วนร่วมแสดง ข้อคิดเห็น ข้อกังวลต่างๆ ผ่านช่องทางการรับข้อร้องเรียนของบริษัทฯ ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา สหภาพแรงงาน กรรมการลูกจ้าง ตู้ ป.ณ. 35 เพื่อให้พนักงานและคู่ค้ายึดถือและปฏิบัติตามเพื่อเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติงาน ไออาร์พีซี มีการจัดทำคู่มือการดำเนินงานจัดหาอย่างยั่งยืน รวมถึงจรรยาบรรณในการปฏิบัติต่อคู่ค้าบริษัทฯ สำหรับคู่ค้า และ จรรยาบรรณในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำหรับพนักงาน โดยมีเนื้อหา และขอบเขตของแนวทางการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมประเด็นด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ รวมถึง มาตรการที่จะป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัย และความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
1. การบริหารจัดการความเสี่ยง
2. พนักงานของเรา
3. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
4. การบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน
หลักเกณฑ์ที่ 8: COP
อธิบายถึงกลไกการ ประเมินและเฝ้าระวังที่มี ประสิทธิผลซึ่งคำนึงถึง สิทธิแรงงาน
ไออาร์พีซี มีระบบการติดตามตรวจสอบในทุกด้านรวมถึงด้านแรงงานที่ เป็นส่วนสำคัญของระบบ ได้แก่ ตัวชี้วัดการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่มา จากข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งถูกใช้ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรจากระดับบริหารลงสู่ทุกหน่วยงาน นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีการสำรวจความพึงพอใจ เช่น การสำรวจความ พึงพอใจของพนักงาน และคู่ค้า การจัดทำแบบสอบถาม เพื่อรับทราบ ความเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งเป็นการสื่อสารสองทางเพื่อให้ได้ข้อมูล ครบถ้วน การจัดช่องทางสื่อสารภายในที่พนักงานทุกคนสามารถตั้งกระทู้ เพื่อสอบถามหรือแสดงความเห็นทางอินทราเน็ตของบริษัทฯ ได้ และ การรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เป็นต้น
1. พนักงานของเรา
2. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
หลักเกณฑ์ที่ 9: COP
อธิบายถึงความมุ่งมั่น กลยุทธ์หรือนโยบายว่าด้วย ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม
ไออาร์พีซี มีนโยบายในการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการ กำกับการดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social and Governance: ESG) ให้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการเป็นไปอย่าง ยั่งยืน ซึ่งมีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบให้พนักงานทุกระดับ ตั้งแต่ คณะกรรมการบริษัทฯ จนถึงระดับปฏิบัติการ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีว อนามัยและสิ่งแวดล้อม ผ่านการขับเคลื่อนโดยระบบการบริหารจัดการที่ เป็นเลิศ (Operational Excellence Management System: OEMS) รายละเอียดนโยบาย QSHE และการจัดการด้าน QSHE สามารถดูได้ จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ
1. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
2. การบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม
หลักเกณฑ์ที่ 10: COP
อธิบายถึงระบบบริหาร จัดการที่มีประสิทธิผลซึ่ง คำนึงถึงหลักการรักษา สิ่งแวดล้อม
ไออาร์พีซี ดำเนินการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านตัวชี้วัดขององค์กร กรอบการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร และ การประเมินความสำคัญ ไออาร์พีซี มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของ ผลิตภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายในการลดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก เพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร ไออาร์พีซี ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงคุณภาพหน่วยผลิตเดิม รวม ทั้งป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมของบริษัทฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งรับฟังความคิดและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียรอบ เขตประกอบการฯ เพื่อสร้างความไว้วางใจและเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้บริษัทฯ ได้กำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารในการรับเรื่องร้องเรียน หรือคำแนะนำต่างๆ ได้แก่ อีเมล์ เว็บไซต์ และโทรศัพท์ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีนโยบายการดำเนินการอย่างยั่งยืน การดำเนิน กระบวนการสีเขียว การขนส่งสีเขียว และการพัฒนาเขตประกอบการ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
1. การบริหารจัดการความเสี่ยง
2. การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
3. ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม
4. การพัฒนาโครงการใหม่
5. การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ
6. การบริหารจัดการและการปรับตัวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
7. การบริหารจัดการน้ำ
8. การบริหารจัดการของเสีย
9. การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี
หลักเกณฑ์ที่ 11: COP
อธิบายถึงกลไกการ ประเมินและเฝ้าระวังที่มี ประสิทธิผลซึ่งคำนึงถึง ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม
การประเมินและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมของ ไออาร์พีซี ดำเนินการผ่าน ระบบการจัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (QSHE Management System) ซึ่งผลจากการประเมินและเฝ้าระวังจะ มีการรายงานต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและรายงานต่อไปยัง ประธานกรรมการทุกไตรมาส และทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ไออาร์พีซี มีการวางแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจขององค์กร (Business Continuity Management: BCM) ตามมาตรฐานสากล ISO 22301:2012 เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ รวมทั้ง ป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดทำแผน ป้องกันและแผนการรับมือจากเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤต รวมทั้ง แผนการสื่อสารในภาวะวิกฤตซึ่งสามารถสื่อสารถึงผู้มีส่วนได้เสียหลัก ทุกกลุ่มได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีระบบการติดตามคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และ มาตรการจัดการกำจัดกากของเสียที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดทำบัญชีปริมาณการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds (VOC) Emission Inventory) และการจัดตั้งสถานี ตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ ทั้งแบบติดตั้งถาวรและแบบเคลื่อนที่ พร้อมกับรายงานผลผ่านจอแสดงผลให้ชุมชนรอบเขตประกอบการฯ รับทราบเพื่อให้ชุมชนมั่นใจว่าการดำเนินงานของ ไออาร์พีซี ไม่ก่อให้เกิด มลพิษทางอากาศที่เกินค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
1. การบริหารจัดการความเสี่ยง
2. มลพิษทางอากาศ
หลักเกณฑ์ที่ 12: COP
อธิบายถึงความมุ่งมั่น กลยุทธ์หรือนโยบายว่าด้วย การต่อต้านการทุจริต
ไออาร์พีซี มีความมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดำเนิน ธุรกิจ การกำกับดูแลกิจการและการบริหารจัดการที่ดีเลิศ โดยคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีนโยบายและมาตรการป้องกันทุจริต มาตรการ คุ้มครองผู้ร้องเรียน และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการพร้อมกับจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนและขั้นตอนการ สอบสวนที่ชัดเจน เป็นธรรม โปร่งใส และการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและพยาน บริษัทฯ ได้การรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557 ซึ่งเป็นการรับรองว่าบริษัทฯ มีนโยบายและ แนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนด และได้เข้าร่วม Call to Action ของ UN Global Compact โดยกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นผู้ลงนามในจดหมาย Call to Action: Anti-Corruption and the Global Development Agenda ต่อ UN Global Compact เพื่อประกาศเจตนารมย์ให้ผู้มีส่วนได้เสียและสังคม ทั่วไป ทั้งสังคมไทยและสังคมโลก รับรู้ถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นองค์กร ที่สะอาดและต้านการทุจริต ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตของบริษัทฯ มีการระบุไว้ใน จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งกฎระเบียบและเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Corporate Compliance Policy)
1. การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
หลักเกณฑ์ที่ 13: COP
อธิบายถึงระบบบริหาร จัดการที่มีประสิทธิผลซึ่ง คำนึงถึงหลักการต่อต้าน การทุจริต
ไออาร์พีซี มีการจัดทำคู่มือ การกับการดูแลกิจการที่ดี ครอบคลุมองคประกอบ คุณสมบัติของคณะกรรมการ และการแต่งตั้ง ความเป็นอิสระของคณะ กรรมการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ การจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะ เรื่อง การประชุมคณะกรรมการ และการได้รับเอกสารข้อมูลต่างๆ การ ประเมินผลของคณะกรรมการ การพิจารณาค่าตอบแทนของคณะกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ จรรยาบรรณของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงาน การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้สอบบัญชี การบริหารความเสี่ยง สิทธิและความเท่าเทียมกันของ ผู้ถือหุ้น บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย การแจ้งเบาะแส และแผนการสืบทอด ตำแหน่ง รวมทั้งมีนโยบาย และมาตรการป้องกันทุจริต การคุ้มครอง ผู้ร้องเรียนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกรรมการ พร้อมกับจัดให้ มีช่องทางรับข้อร้องเรียนและขั้นตอนการสอบสวนที่ชัดเจน เป็นธรรม โปร่งใส และการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและพยาน ในปี 2557 ได้มีการจัดทำคู่มือการดำเนินงานจัดหาอย่างยั่งยืน รวมถึง จรรยาบรรณในการปฏิบัติต่อคู่ค้าบริษัทฯ สำหรับคู่ค้า และจรรยาบรรณ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำหรับพนักงาน เพื่อให้พนักงานและคู่ค้า ยึดถือและปฏิบัติตามเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยมีเนื้อหาและ ขอบเขตของแนวทางการปฏิบัติภายใต้กฎหมาย รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมประเด็นด้านจริยธรรมในการดำเนิน ธุรกิจ สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีนโยบายในการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับการดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social and Governance: ESG) ให้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการเป็นไปอย่าง ยั่งยืนซึ่งมีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบให้พนักงานทุกระดับ ตั้งแต่ คณะกรรมการบริษัทฯ จนถึงระดับปฏิบัติการ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้กำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารในการรับเรื่องร้องเรียน หรือคำแนะนำต่างๆ ได้แก่ อีเมล์ เว็บไซต์ และโทรศัพท์
1. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
2. การบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน
หลักเกณฑ์ที่ 14: COP
อธิบายถึงกลไกการ ประเมินและเฝ้าระวังที่มี ประสิทธิผลซึ่งคำนึงถึง หลักการต่อต้านการทุจริต
คณะกรรมการบริษัทฯ และกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ติดตามตรวจสอบ ความโปร่งใสขององค์กรและธุรกิจเพื่อที่จะให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตาม กฎหมายที่กำหนด สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ เป็นการประเมิน ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการทั้งคณะ และคณะกรรมการชุดย่อย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ บริษัทฯ ซึ่งเป็นการประเมินภายใน รวมทั้งมีการประเมินโดยผู้ประเมินจาก ภายนอกจากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report: CGR) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) รวมถึงโครงการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) ที่บริษัทฯ เข้าร่วม เป็นสมาชิก โดยได้รับการประเมิน Anti-Corruption Progress Indicator ระดับ 4 (Certified) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารในการรับเรื่องร้องเรียน หรือคำแนะนำต่างๆ ได้แก่ อีเมล์ เว็บไซต์ ตู้ ป.ณ. 35 และโทรศัพท์ โดยการกำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับทาง บริษัทฯ ด้วยช่องทางเว็บไซต์นั้นทำให้ผู้ติดต่อสามารถสื่อสารทางตรงกับ ประธานกรรมการตรวจสอบและประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี
1. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
หลักเกณฑ์ที่ 15: COP
อธิบายถึงการสนับสนุน ของธุรกิจหลักสำหรับ เป้าหมายและข้อตกลงต่างๆ แห่งสหประชาชาติ
ไออาร์พีซี มีเป้าหมายในการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกด้าน เพื่อที่จะเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการดำเนิน การตามมาตรฐาน UN Global Compact รวมทั้งมาตรฐานสากลอื่นๆ และให้ความร่วมมือกับหน่วยราชการ องค์กรอิสระ รวมทั้งภาคเอกชนที่ มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม เพื่อ มุ่งไปสู่มาตรฐานที่มีการดำเนินการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับที่ สูงขึ้นและขยายผลสู่สังคมในวงกว้างต่อไป ปัจจุบัน ไออาร์พีซี ดำเนินการตามมาตรฐาน ISO และยกระดับความมุ่งมั่น การปฏิบัติตามเกณฑ์ขั้นสูงสุดของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC Advanced Level) มีการเปิดเผยรายงานความยั่งยืนตามกรอบ การรายงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GRI) รวมทั้งได้รับคัดเลือกให้ เป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Index: DJSI) ในปี 2557 ประเภท DJSI Emerging Markets ในกลุ่ม ของ Oil & Gas Producer
1. สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่รายงานความยั่งยืน 2557 133
หลักเกณฑ์ที่ 16: COP
อธิบายถึงการลงทุนทาง สังคมเชิงกลยุทธ์และ การบริการสังคม
ไออาร์พีซี ดำเนินการพัฒนาและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามกลยุทธ์ การดำเนินงานเพื่อสังคม หรือ Happy Rayong ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การเสริมสร้างความปลอดภัย สุขอนามัยและเศรษฐกิจ การพัฒนา ชุมชน การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้กระบวนการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดทำโครงการต่างๆ ที่สอดคล้อง กับกลยุทธ์ Happy Rayong อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ชุมชนให้สามารถสร้างคุณค่าเพิ่มและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและอยู่ ร่วมกับ ไออาร์พีซี ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อสังคมในพื้นที่นอกเขต การผลิต เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในชาติ ได้แก่ การขาดแคลนแหล่งน้ำ การด้อยโอกาสทางการศึกษา และการด้อยโอกาส จากการพิการ ด้วยการดำเนินโครงการสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญ เหล่านี้ด้วยบุคลากร ทุนทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ
1. การพัฒนาและการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
หลักเกณฑ์ที่ 17: COP
อธิบายถึงนโยบายความ ช่วยเหลือและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของสาธารณะ
ไออาร์พีซี ปฏิบัติตามหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยการพิจารณา ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนประเมินความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดทำมาตรการป้องกัน และรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี มีความมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ในการใช้พลังงานในระดับ Top Quartile ภายในปี 2563 โดย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจก ซึ่งมีการดำเนินงานออกเป็น 3 แนวทางหลัก ได้แก่ กระบวนการ ผลิตสีเขียว (Green Process) การขนส่งสีเขียว (Green Logistics) และ ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน (Low Carbon and Energy Efficiency Product)
1. การบริหารจัดการและการปรับตัว ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ
หลักเกณฑ์ที่ 18: COP
อธิบายถึงการเป็นหุ้นส่วน และการทำงานเป็นหมู่คณะ
ไออาร์พีซี ดำเนินการพัฒนาและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ส่งเสริม การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งคู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ในการพัฒนาความร่วมมือ (Alliance) โครงการใหม่ รวมถึงการพัฒนาโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและอยู่ร่วมกับ ไออาร์พีซี ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดี บริษัทฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมถึงมีหลายหน่วยงานที่ มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม อาทิ ส่วนงาน กำกับองค์กร ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมฯ และสายงานแผนกลยุทธ์องค์กร เป็นต้น โดยได้ประสานงานร่วมกับกลุ่ม ปตท. ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย หรือหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์กรมหาชน) ฯลฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
1. การพัฒนาและการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
2. การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี
หลักเกณฑ์ที่ 19: COP อธิบายถึงความมุ่งมั่น และความเป็นผู้นำของ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO)
บริษัทฯ นำเสนอ “สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่” ไว้ในรายงานความ ยั่งยืนและรายงานประจำปีของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี อันแสดงถึงวิสัย ทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่ไป กับการพัฒนาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  1. สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่
หลักเกณฑ์ที่ 20: COP
อธิบายถึงการแต่งตั้ง คณะกรรมการและ การกำกับดูแล
โครงสร้างและการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อธิบาย ไว้ในบทการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
1. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
หลักเกณฑ์ที่ 21: COP
อธิบายถึงการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสีย
ไออาร์พีซี มีกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลัก ได้แก่ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน ลูกค้า/ ผู้บริโภค หุ้นส่วนธุรกิจ รัฐบาล หน่วยราชการ พนักงาน สื่อมวลชน สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วน ได้เสียจะถูกรายงานในการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่จัดขึ้นทุกไตรมาส นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังจัดกิจกรรม สัมมนา อบรมให้ความรู้ สร้างความร่วมมือ ในการพัฒนานวัตกรรม ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย การดำเนินกิจการเพื่อสังคม ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย การจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคี การรับฟังความคิด และข้อกังวลของชุมชนรอบเขตประกอบการฯ เพื่อสร้างความไว้วางใจและ เชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย (Social License & Trust) เพื่อดำเนินการศึกษา เพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจและสังคมโดยรวม อีกทั้งยังวิเคราะห์ แนวทางการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนา โครงการใหม่
1. การกำกับดูแลองค์กรที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
2. การพัฒนาโครงการ

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน