ระบบการควบคุมภายใน

การจัดการผลประโยชน์ที่ขัดกัน

“บริษัทฯ มีหลักปฏิบัติที่เข้มข้นขึ้นกว่าที่กฎหมายกำหนด
โดยให้บุคลากรทุกระดับยึดถือปฏิบัติการดำเนินงานด้วยมาตรฐานขั้นสูงสุด”

การจัดการผลประโยชน์ที่ขัดกัน คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับรายการผลประโยชน์ที่ขัดกันไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการผลประโยชน์ที่ขัดกันของบริษัทฯ ได้แก่ คณะกรรมการ บริษัทฯ พิจารณาความขัดกันของผลประโยชน์เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันระหว่าง บริษัทฯ หรือบริษัทฯ ย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันอย่างรอบคอบ รวมถึงระมัดระวังให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส โดยคำนึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการระหว่างกันที่มีนัยสำคัญให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) เป็นประจำทุกปี

คณะกรรมการและผู้บริหารตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งในบริษัทฯ เป็นครั้งแรก (แบบ 59-1) และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ (แบบ 59-2) โดยบริษัทฯ ได้จัดทำรายงานสรุปการถือครองหลักทรัพย์ของคณะกรรมการและผู้บริหารและรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้บริษัทฯ มีแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปในการงดซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วง 45 วัน ก่อนงบการเงินเผยแพร่ต่อสาธารณะ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีหลักปฏิบัติที่เข้มข้นขึ้นกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยให้บุคลากรทุกระดับยึดถือปฏิบัติการดำเนินงานด้วยมาตรฐานขั้นสูงสุด โดยบุคลากรทุกระดับจะต้องเปิดเผยรายการที่เป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี

นโยบายการรับข้อร้องเรียนและการสอบสวนข้อร้องเรียน

บริษัทฯ จัดให้มีระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยขั้นตอนในการปฏิบัติในเรื่องการร้องเรียนและการสอบสวนข้อร้องเรียนอย่างชัดเจน ใช้บังคับตั้งแต่ปี 2553 เพื่อให้มีความโปร่งใส และเป็นธรรม โดยกำหนดคำจำกัดความของเรื่องร้องเรียน ช่องทางการรับเรื่อง นโยบายการสอบสวนเรื่องร้องเรียนและการคุ้มครองผู้ร้องเรียน ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการสอบสวนข้อเท็จจริงและการพิจารณาผลการสอบ รวมทั้งวิธีการปิดเรื่องร้องเรียนและการเยียวยา พร้อมทั้งระบุบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนจบ เพื่อประกันความโปร่งใสและเป็นธรรมกับคู่กรณี

ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทฯ สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนโดยการยื่นเรื่องตรงหรือผ่านทางไปรษณีย์ถึง

ประธานกรรมการตรวจสอบ หรือผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
ชั้น 6 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร บี
เลขที่ 555/2 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ 02 649-7000 โทรสาร 02 649-7982

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน