คณะกรรมการตรวจสอบ

วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการตรวจสอบ

  1. กรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ (คราวละไม่เกิน 3 ปี)
  2. กรรมการตรวจสอบที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำ แหน่งใหม่ได้อีกตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร (รวมแล้วไม่เกิน 3 วาระ หรือ 9 ปีติดต่อกันโดยไม่มีข้อยกเว้น)
  3. กรณีกรรมการตรวจสอบพ้นจากตำ แหน่งไม่ว่าในกรณีใดกรณีหนึ่ง บริษัทฯ จะต้องชี้แจงสาเหตุให้ตลาดหลักหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบ
  4. ในกรณีที่กรรมการตรวจสอบว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาแต่งตั้งกรรมการอื่นที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เป็นกรรมการตรวจสอบรายใหม่ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่มีจำนวนกรรมการตรวจสอบไม่ครบตามที่กำหนด

 

อำนาจและหน้าที่ตามกฎบัตร

  1. สอบทานรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยกฎหมายอย่างถูกต้องและเพียงพอ
  2. สอบทานระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และสอบทานประสิทธิผลและความเพียงพอของกระบวนการบริหารความเสี่ยง
  3. สอบทานการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
  4. พิจารณารายการเกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำ หนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ
  5. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงเสนอถอดถอนผู้สอบบัญชีในกรณีที่เห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รวมทั้งเข้าประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  6. พิจารณาขอบเขตการตรวจสอบและแผนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบบัญชีและสำนักตรวจสอบภายใน ให้มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน และลดความซ้ำซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการเงิน
  7. ให้ความเห็นชอบแผนการตรวจสอบ รวมทั้งให้ความเห็นประกอบการพิจารณางบประมาณและอัตรากำลังของสำนักตรวจสอบภายใน
  8. พิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง ผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน รวมทั้งพิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน
  9. สอบทานความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
  10. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
  11. มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลของการตรวจสอบและสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบตามระเบียบของบริษัทฯ
  12. หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการ หรือการกระทำ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างทันเวลา ได้แก่

(1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

(2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน

(3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ

หากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือผู้บริหารไม่ดำ เนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่เหมาะสมโดยไม่มีเหตุอันควร คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทันทีเมื่อได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว

13. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

  1. กรรมการสรรหาและกำ หนดค่าตอบแทนมีวาระการดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ (คราวละไม่เกิน 3 ปี)
  2. กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำ แหน่งใหม่ได้อีกตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร (รวมแล้วไม่เกิน3 วาระ หรือ 9 ปีติดต่อกัน โดยไม่มีข้อยกเว้น)

 

อำนาจและหน้าที่ตามกฎบัตร

1.ด้านการสรรหา

1.1  พิจารณาเสนอแนะโครงสร้าง ขนาด และองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ให้มีความเหมาะสมกับขนาด ประเภท และความซับซ้อนของธุรกิจ ด้วยความโปร่งใส ปราศจากอิทธิพลของผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม และสร้างความมั่นใจให้กับบุคคลภายนอก เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ แล้วแต่กรณี

1.2  พิจารณาคุณลักษณะของบุคคลที่จะมาเป็น กรรมการบริษัทฯ ให้มีความเหมาะสม โดยมีแนวทางในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

1.2.1  คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 ท่าน แต่ไม่เกิน 15 ท่าน โดยต้องมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และไม่น้อยกว่า 3 ท่าน

1.2.2  กรรมการบริษัทฯ ต้องมีอายุไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์

1.2.3  คณะกรรมการบริษัทฯ ควรประกอบด้วยกรรมการที่มีความหลากหลาย (Board  Diversity & Inclusion) ทั้งด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์(Board Skill Matrix) อายุ และเพศ โดยต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัทฯ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ

(1)  คุณสมบัติตามกฎหมาย สอดคล้องตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน กฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อบังคับบริษัทฯ คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการของบริษัทฯ

(2)  คุณสมบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหรือบุคคล ดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจ และ/หรือ นิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นหลายแห่ง (ไม่เกิน 3 แห่ง) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

(ก)  ดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจ และ/หรือ นิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 3 แห่ง

(ข)  ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ไม่เกิน 3 แห่ง ทั้งนี้ การดำรงตำแหน่งกรรมการตามความใน (ก) และ (ข) รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 5 แห่ง

(3)  คุณลักษณะทั่วไป (General Characteristics) หรือ คุณลักษณะที่ส่งเสริมภาพลักษณ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี อาทิ ความมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ ความมีวุฒิภาวะ ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นอิสระ กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง การตัดสินใจด้วยข้อมูลเหตุผล การยึดมั่นในหลักการและมาตรฐานเยี่ยงมืออาชีพ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังและความซื่อสัตย์ (Duty of Care, Duty of Loyalty) การทุ่มเท อุทิศเวลา  สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการประชุมและการปฏิบัติตนในฐานะกรรมการให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

(4)  คุณลักษณะด้านความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน (Skill Characteristics) ที่สอดคล้องกับธุรกิจและความต้องการของบริษัทฯ หรือตามเงื่อนไขที่มีความจำเป็น และหากอยู่ในบัญชีรายชื่อ หรือฐานข้อมูลกรรมการ (Directors’ Pool) ขององค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือของหน่วยราชการที่มีการรับรอง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ

(5)  คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด

1.2.4       การเลือกตั้งกรรมการเพื่อทดแทนกรรมการที่ลาออก เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริษัทฯ ส่วนการเลือกตั้งกรรมการเพื่อทดแทนกรรมการที่ครบวาระ จะต้องได้รับความเห็นชอบโดยเสียงข้างมากของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

1.3  พิจารณากลั่นกรองหลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหากรรมการบริษัทฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ

1.4  พิจารณาสรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการบริษัทฯ ทั้งในกรณีที่มีตำแหน่งว่าง หรือกรณีกรรมการครบวาระ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ แล้วแต่กรณี

1.5  พิจารณากลั่นกรองรายชื่อและคุณสมบัติของกรรมการบริษัทฯ ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ

2.ด้านการกำหนดค่าตอบแทน

2.1   พิจารณาเสนอแนะโครงสร้าง หลักเกณฑ์ และรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ กรรมการชุดย่อย เช่น ค่าตอบแทนประจำ (Retainer Fees) โบนัส บำเหน็จ เบี้ยประชุม และค่าตอบแทนในรูปแบบอื่น ทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน ที่เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจ เพียงพอ และเป็นธรรม สามารถจูงใจและรักษากรรมการที่มีคุณภาพไว้ได้ สอดคล้องกับการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น โดยค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ และกรรมการชุดย่อย จะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ

2.2  พิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์องค์กร ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีระดับและองค์ประกอบของค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพียงพอ กับขนาดและความซับซ้อนของธุรกิจ เพื่อจูงใจและรักษากรรมการที่มีคุณภาพตามที่ต้องการให้อยู่กับบริษัทฯ ไว้ได้ อันจะทำให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายขององค์กร ดูแลผลประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ด้านการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารระดับ N-1 และการกำหนดค่าตอบแทน

3.1   พิจารณากลั่นกรองรายชื่อและคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง และ ผู้บริหารระดับ N-1 ด้วยความรอบคอบ เหมาะสม สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ โดยหลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด อนึ่ง กรณีผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการบริษัทฯ หรือ หัวหน้าสำนักตรวจสอบภายใน ให้พิจารณาความสอดคล้องตามกฎหมาย กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย

3.2  พิจารณาแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง และ ผู้บริหารระดับ N-1 เพื่อเตรียมความพร้อมให้มีผู้สืบทอดงาน ในกรณีที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง หรือ ผู้บริหารระดับ N-1 เกษียณอายุ ลาออก หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อให้การบริหารงานของบริษัทฯ สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

3.3 พิจารณากำหนดองค์ประกอบและเป้าหมายในการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานและการปรับอัตราเงินเดือนประจำปี เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ

3.4  พิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตามองค์ประกอบและเป้าหมายที่คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติไว้

3.5 พิจารณากำหนดค่าตอบแทน และอัตราเงินปรับประจำปีของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บำเหน็จ โบนัส และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด ทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติโดยค่าตอบแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ควรสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน แผนธุรกิจ ความเหมาะสม เพียงพอ และเป็นธรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนให้แก่กิจการ และสามารถรักษาผู้บริหารที่มีความสามารถให้อยู่กับบริษัทฯ ไว้ได้

ทั้งนี้ ค่าตอบแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  จะต้องนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ

4.ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน

องค์ประกอบ และวาระการดำรงตำแหน่ง ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน 

  1. คณะกรรมการฯ และ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ได้รับการแต่งตั้งโดย คณะกรรมการบริษัทฯ
  2. คณะกรรมการฯ ประกอบด้วย กรรมการบริษัทฯ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร) อย่างน้อย 3 คน และเป็นกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน
  3. คณะกรรมการฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี หรือตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง กรรมการบริษัทฯ (แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน)
  4. กรรมการฯ ที่พ้นตำแหน่ง อาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ได้อีกตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร
  5. เมื่อกรรมการฯ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง หรือมีเหตุใดที่ทำให้ไม่สามารถอยู่ได้จนครบวาระ คณะกรรมการบริษัทฯ จะพิจารณาแต่งตั้งกรรมการฯ ท่านใหม่ให้ครบจำนวนอย่างช้าภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่จำนวนกรรมการไม่ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ
  6. กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากบริษัทฯ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
  7. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน เป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง เลขานุการคณะกรรมการฯ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

1. หน้าที่และความรับผิดชอบด้านบรรษัทภิบาล (การกำกับดูแลกิจการที่ดี)

  • พิจารณาและให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ในการกำหนดกรอบนโยบาย และแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการให้สินบน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสากล ความเท่าเทียมความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องทางด้าน GRC (Corporate Governance, Risk Management & Internal Control, and Compliance) ที่สอดคล้องกับโครงสร้างการดำเนินงานของบริษัทฯ และเทียบเคียงได้กับแนวปฏิบัติหรือหลักการที่เป็นสากล มาตรฐาน และข้อกำหนดของสถาบันหรือหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์กรที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศหรือระดับสากล
  • พิจารณาความเหมาะสมและความเพียงพอของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนทบทวนปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือหลักการที่เป็นสากล ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา
  • กำหนดแนวทางกำกับดูแลและติดตามผล เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายและแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ เพื่อพัฒนาและยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
  • สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานที่สำคัญและเกี่ยวเนื่อง
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ก่อนเปิดเผยในรายงานประจำปี
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบวิธีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี
  • ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และข้อเสนอแนะแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายจัดการ ในการพัฒนาโครงสร้างและระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนของบริษัทฯ

2. หน้าที่และความรับผิดชอบด้านความยั่งยืน

  • พิจารณาและให้คำแนะนำในการจัดทำกรอบนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางการพัฒนาด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ให้มีมาตรฐาน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเทียบเคียงได้กับแนวปฏิบัติหรือหลักการที่เป็นสากล เพื่อให้บริษัทฯ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียและผู้ถือหุ้นในภาพรวม โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ
  • ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ในการจัดทำแผนพัฒนาด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ สอดคล้องตามนโยบายและกลยุทธ์ที่กำหนด ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาความยั่งยืน รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้มีความสมดุลทั้งมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (Environmental, Social, Governance: ESG) สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีตามกฎหมาย ตามมาตรฐานระดับประเทศ และระดับสากล
  • กำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ ตลอดจนให้มีการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
  • ให้มีการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ให้เป็นปัจจุบัน เหมาะสมกับสถานการณ์
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) ก่อนการเผยแพร่ต่อไป

3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย

 

กฎบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน [click]

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

  1. กรรมการบริหารความเสี่ยง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 3 ปี หรือตามระยะเวลา การดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ (แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน)
  2. กรรมการบริหารความเสี่ยงที่พ้นตำแหน่ง อาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ได้อีกตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร

อำนาจและหน้าที่ตามกฎบัตร

  1. กำหนดและทบทวนนโยบาย และเสนอแนะแนวทางให้การบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. พิจารณาการกำหนดระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite) ที่สอดรับกับกลยุทธ์และการดำเนินงาน พร้อมทั้งติดตามและทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
  3. กำกับดูแล ติดตาม ให้ความเห็น และแนะนำแนวทางการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดระดับ ความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทำให้มั่นใจว่าระบบการบริหารความเสี่ยงมีความเหมาะสม และมีประสิทธิผล โดยครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญ รวมถึงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์
  4. สนับสนุนและพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร รวมถึงพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน สัญญาซื้อ/ขายสินค้าล่วงหน้า สัญญากำหนดส่วนต่างราคา เป็นต้น
  5. พิจารณากลั่นกรองและให้ข้อคิดเห็นต่อโครงการลงทุน สัญญาที่มีภาระผูกพันทางกฎหมายหรือกิจกรรมที่มีความซับซ้อนเชิงธุรกิจ ที่ต้องนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ และมีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญตามที่คณะกรรมการจัดการเห็นชอบ
  6. รายงานผลการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงองค์กรต่อคณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบเป็นประจำ และในกรณีที่มีปัจจัย หรือเหตุการณ์สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบ/พิจารณาโดยเร็วที่สุด
  7. สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร และมีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมในการบริหารความเสี่ยงโดยให้แนวทางที่ชัดเจน (Tone from the Top)
  8. กำกับดูแลให้องค์กรมีความยั่งยืน โดยการบริหารความเสี่ยงถูกนำไปปฏิบัติอย่างครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) รวมถึงมีการบูรณาการระหว่างการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (GRC)
  9. ปฎิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน