การประเมินประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน
รายงานความยั่งยืนใน One Report
บริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านรายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน และเว็บไซต์บริษัทฯเป็นประจำทุกปี ในปี 2564 บริษัทฯ ได้ปรับรูปแบบการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้มีส่วนได้เสียเป็น “แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี 2563 (แบบ 56-1 One Report)” โดยรวมแบบ 56-1 รายงานประจำ ปี และรายงานความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกัน แสดงอยู่ในหัวข้อที่ 3 การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนรวมถึงยังคงเปิดเผยข้อมูลฯ ดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ในหัวข้อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังเช่นทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมถึงรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) โดยจัดทำรายงานตามคู่มือจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. และหลักการ Sustainability Reporting Guideline แบบมาตรฐาน (Standards) ของ Global Reporting Initiative (GRI) ในระดับตัวชี้วัดหลัก (Core Option) และ ตัวชี้วัดเพิ่มเติม สำหรับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (Oil and Gas Sector Disclosure) จากรายงานความยั่งยืนฉบับล่าสุดในปี 2563 ที่ผ่านมาบริษัทฯ ยังคงขอบเขตการรายงานหัวข้อการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความยั่งยืนในรายงานแบบ 56-1 One Report ประจำปี 2564 ที่ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รายงานฯ ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับการสอบทานข้อมูลพร้อมยืนยันความถูกต้อง โดยบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว มีความแม่นยำ เชื่อถือได้ สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และสามารถทวนสอบกลับไปยังข้อมูลต้นทางได้
ผลการประเมินประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน ประจำปี 2565 (Click)
ขอบเขตของการรายงาน
การเปิดเผยผลการดำเนินงาน ครอบคลุมธุรกิจที่บริษัทฯ ถือครองหุ้นทั้งหมดและดำเนินการเอง ได้แก่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) รวมทั้ง บริษัทย่อยที่อยู่ในการบริหารจัดการของบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ 1) บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด 2) บริษัท ไออาร์พีซี เอแอนด์แอล จำกัด 3) บริษัท เทคโนโลยี ไออาร์พีซี จำกัด และ 4) บริษัท ไอพอลิเมอร์ จำกัด รวมถึงบริษัท รักษ์ป่าสัก จำกัด ซึ่งถือเป็น การถือหุ้นทางอ้อมที่บริษัทย่อยของบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50
การประเมินประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน
ไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะระบุประเด็นสำคัญจากผู้มีส่วนได้เสียภายใต้บริบทของความยั่งยืนให้ครอบคลุมข้อกำหนดจากภาครัฐ และข้อมูลแนวโน้มที่สำคัญที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Mega Trends) เช่น วิกฤต Covid-19 ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การขยายตัวของสังคมเมือง การจัดการขยะพลาสติก เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ อาทิ WBCSD, UN, UNDP, RepRisk, SustainAbility, World Economic Forum, SDGs, NSTDA, DJSI และ GRI นำมาพิจารณาร่วมกับความเสี่ยงขององค์กร นโยบายด้านความยั่งยืน ทิศทางกลยุทธ์ และการดำเนินธุรกิจขององค์กร ตลอดจนวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา และนำประเด็นเหล่านั้นมาจัดลำดับความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับทบทวนกลยุทธ์องค์กร ซึ่งผลการดำเนินงานจัดการประเด็นที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจะเปิดเผยในรายงานความยั่งยืนและ Website ขององค์กร
Stakeholder Profile and Mapping Matrix (Click)
ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน
ผลการประเมินประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน
Sustainable Value Creation Material Issues |
Enabling Material Issues |
Business Fundamental Material Issues |
o มุ่งเน้นสร้างคุณค่าด้านการเติบโตอย่างยั่งยืนo เสนอเข้ากระบวนการกำหนดทิศทางกลยุทธ์และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระยะยาวขององค์กรที่ดพเนินการโดยผู้บริหารระดับสูง ถ่ายทอดมาเป็นแผนธุรกิจในระดับบริษัทo กำหนดตัวชี้วัดตาม และเป้าหมายระยะยาวรวมทั้งทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน |
o บริหารจัดการเช่นเดียวกับการบริหารจัดการประเด็น Sustainable Value Creation เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญ ที่ช่วยขับเคลื่อน Sustainable Value Creation มีการบริหารจัดการได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
o มุ่งเน้นสร้างคุณค่าด้านการลดความเสี่ยงและเพิ่มผลผลิตo ผนวกเข้าไปในระบบบริหารองค์กรซึ่งต้องกำหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับชอบประเด็นในระดับองค์กรo กำหนดตัวชี้วัดนำและเป้าหมายระยะกลาง |
เปิดเผยข้อมูลในรายงาน One Report |
เปิดเผยข้อมูลในรายงาน One Report |
เปิดเผยข้อมูลในเว็ปไซต์บริษัทฯ |
ประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืนของไออาร์พีซี
ไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะระบุประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืนครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ตามแนวทางการรายงานของ GRI โดยบริษัทฯ ได้ทบทวนและประเมินประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน ขอบเขตของผลกระทบ และหัวข้อต่าง ๆ ที่จะนำเสนอในรายงานความยั่นยืนทุก ๆ ปี ต่อเนื่องจากปี 2562 ไออาร์พีซีพิจารณากลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มเติมเข้าไปในขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืนของบริษัท อาทิ การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นคุณค่าที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรปี 2565
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้