การบริหารจัดการและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

แนวทางการบริหารจัดการ

ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและโปร่งใสกับผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรากฐานแห่งความสำเร็จของธุรกิจท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยไออาร์พีซีกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน 3C ของบริษัทฯ ซึ่งประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการสร้างคุณค่าเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน (Creating Social Value) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประสานเป้าหมายทางธุรกิจและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ ไออาร์พีซี จึงกำหนดแนวทางการสร้างการส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่มากกว่าแนวทางทั่วไป เพื่อให้สะท้อนความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อปัจจัยภายนอกต่าง ๆ อาทิ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์ความตึงเครียดของทรัพยากรน้ำ โดยแนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียของไออาร์พีซีมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย โดยใช้หลักการการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแบบบูรณาการเพื่อเข้าถึงปัญหาได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ไออาร์พีซี เชื่อมั่นในแนวทางการดำเนินงานอย่างโปร่งใส เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน

  • ร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation) – ไออาร์พีซีมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือและการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
    ซึ่งครอบคลุมไปถึงการดำเนินงานที่นอกเหนือจากการควบคุมความเสี่ยงต่อองค์กร และการสัมภาษณ์และหารือกับผู้มีส่วนได้เสียตามแนวทางทั่วไป
  • การมีส่วนร่วมในหลายระดับ (Multi-level Engagement) – ไออาร์พีซีมุ่งเน้นที่จะขยายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกระดับที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของไออาร์พีซี โดยไม่แบ่งแยกถึงระดับความมีอิทธิพลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  • การมีส่วนร่วมแบบเชิงลึก (Deep Engagement) – ไออาร์พีซี มุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแบบเชิงลึก โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อกลยุทธ์ขององค์กร

 

ทั้งนี้ นโยบายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ระบุอยู่ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งกำหนดจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียของไออาร์พีซี สามารถศึกษาได้จากคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี หัวข้อจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย [link]

การดำเนินงานที่สำคัญ

ไออาร์พีซีได้จัดทำขั้นตอนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement Procedure) เพื่อเป็นแนวทางขององค์กรในการทำความเข้าใจข้อคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเอกสารดังกล่าวได้อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ และระบุขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการการมีส่วนร่วมจะถูกนำมาใช้ในการวางแผนการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากขั้นตอนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียของไออาร์พีซี [link]

การดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการข้อกังวลและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม และสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากนี้ ข้อคิดเห็นที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสียจะถูกนำมาพิจารณากำหนดแผนการมีส่วนร่วม ตลอดจนรายงานประเด็นและข้อกังวลสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียในรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯ ทั้งนี้ ขั้นตอนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียจะเริ่มจากการระบุผู้มีส่วนได้เสีย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความรับผิดชอบ อิทธิพล ความสัมพันธ์ การพึ่งพา/ขึ้นอยู่กับบริษัท และการเป็นตัวแทน จากนั้นจะดำเนินการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียตามระดับความสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากอิทธิพลที่มีต่อการดำเนินธุรกิจของไออาร์พีซี และผลกระทบของการดำเนินธุรกิจของไออาร์พีซีต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยผลจากการจัดลำดับความสำคัญนี้จะนำไปใช้ในการจัดทำแผนการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียในแต่ระดับความสำคัญ ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียของไออาร์พีซี ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการติดตามและรายงานผลการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงข้อคิดเห็นและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียต่อฝ่ายแผนกลยุทธ์และความยั่งยืน ซึ่งจะประเมินและนำเสนอประเด็นที่มีความสำคัญต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน เพื่อพิจารณาและอนุมัติประเด็นที่มีความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร

สรุปผลการดำเนินงาน

ไออาร์พีซีได้ประเมินและระบุผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน 2) พนักงาน 3) ลูกค้า/ผู้บริโภค4) คู่ค้า และ 5) ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม และจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ เพื่อกำหนดแนวทางและความถี่ในการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่สอดคคล้องตามระดับความสำคัญ ทั้งนี้ จากผลการประเมิน พบว่า กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีระดับความสำคัญสูงสุด 3 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า และชุมชน อย่างไรก็ตาม ไออาร์พีซีตระหนักดีถึงธรรมชาติของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีพลวัต จึงมุ่งมั่นที่จะประเมินและจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบทและกลยุทธ์ทางธุรกิจ แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่ครอบคลุมนี้ ช่วยให้ไออาร์พีซีสามารถเข้าถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่องและเข้าใจถึงประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจหรือมีข้อกังวล เพื่อให้สามารถตอบสนองความคาดหวังเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากผลการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ในรายงาน 56-1 One Report [link]

ไออาร์พีซีมีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อจัดการและติดตามข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย โดยกระบวนการนี้ครอบคลุมถึงขั้นตอนการประเมินและปรับปรุงการบริหารจัดการ รวมถึงการกำหนดระดับความสำคัญ เวลาในการแจ้งผลกลับ และหน่วยงานที่รับผิดชอบสูงสุดในแต่ละระดับความรุนแรงที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ข้อร้องเรียนทั้งหมดจะได้รับการจัดการผ่านศูนย์ควบคุมภาวะฉุกเฉิน (Emergency Control Center) ซึ่งมีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและจัดการเรื่องเรียนตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะส่งเรื่องร้องเรียนต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบสาเหตุ และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งมีกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน โดยไออาร์พีซีจะดำเนินการแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบถึงมาตรการแก้ไขและการเยียวยาภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน

นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังวางแผนที่จะพัฒนาตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านระบบ Lesson Learnt Tracking System เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและนำบทเรียนที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน