Corporate Governance Development
CAC
โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CAC (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ 2553 เพื่อเป็น platform ให้บริษัทในประเทศไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยความสมัครใจในรูปแบบของ Collective Action โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีเป้าหมายหลักคือ
CAC ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของ 8 องค์กรชั้นนำของภาคเอกชนไทย และได้มอบหมายให้ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD ทำหน้าที่เป็นเลขานุการโครงการ และได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก Center for International Private ที่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย 8 องค์กรชั้นนำในประเทศไทยประกอบด้วย
ในปี 2564 แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย ได้เฉลิมฉลองวาระครบรอบการก่อตั้ง CAC 10 ปี จึงได้ทำการปรับ “ชื่อ” “โลโก้” และ “ตรารับรอง” ของ CAC ใหม่ และได้เริ่มประกาศใช้ ชื่อ โลโก้ และตรารับรองใหม่ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ดังนี้
CAC ได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มตรารับรองสำหรับสมาชิกของ CAC โดยตราใหม่มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
ไออาร์พีซี ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส เป็นธรรม สอดคล้องตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และไม่ยอมรับการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม (Zero Tolerance)
ไออาร์พีซี แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีการดำเนินงานที่ยึดหลักธรรมาภิบาล จรรยาบรรณ และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการดังกล่าวอย่างแท้จริง คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้ประกาศ นโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อให้ผู้บริหาร และพนักงานทั่วทั้งองค์กร ยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC ได้ริเริ่มโครงการ CAC SME Certification เพื่อเสริมสร้างแนวร่วมต่อต้านการให้และรับสินบนในภาคเอกชน โดยได้นำประสบการณ์จากการดำเนินการโครงการรับรองบริษัทขนาดใหญ่มาต่อยอด ซึ่งกลุ่มธุรกิจ SME ที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้คือ บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ไม่อยู่ภายในการควบคุมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นบริษัทที่มีรายได้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี และเพื่อส่งเสริมโครงการ CAC SME Certification ดังกล่าวในฐานะสมาชิก CAC ไออาร์พีซี จึงได้ชักชวนและผลักดันให้ “คู่ค้า” ที่เป็น SME เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ในโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย ส่งผลให้ ไออาร์พีซี ได้รับรางวัล CAC CHANGE AGENT AWARD ในปี 2562 อีกด้วย
ไออาร์พีซี ได้กำหนดให้นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เป็นนโยบายหนึ่งในแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่มไออาร์พีซี หรือ IRPC Group Way of Conduct เพื่อให้บุคลากรของไออาร์พีซี บริษัทในกลุ่มไออาร์พีซี และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ยึดถือปฏิบัติ พร้อมมีการมีติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลตามช่องที่เหมาะสม รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างจริงจัง