ระบบการควบคุมภายใน
ระบบการควบคุมภายใน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบภายใน โดยจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในแยกเป็นหน่วยงานหนึ่งของบริษัทฯ และมีคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยหน่วยงานตรวจสอบภายในมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการประเมินความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในของระบบงานและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนการตรวจสอบประจำปี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ มิติของงานตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 5 มิติ ดังต่อไปนี้
1. สอบทาน และรายงานความเชื่อถือได้ และความครบถ้วนของข้อมูลทางการเงิน ตลอดจนการวัดผลการดำเนินงาน
2. สอบทานแผนงานการดำเนินงาน ว่าสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ตลอดจนมีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้
3. สอบทานการปฏิบัติงาน ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน และรายงาน ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
4. สอบทานทรัพย์สิน สินค้า และวัตถุดิบ ดังนี้
5. ประเมินการใช้ทรัพยากร (Resources) อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
สำนักตรวจสอบภายในจะรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา เพื่อสนับสนุนความมีประสิทธิผลของกระบวนการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน โดยปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน เพื่อรักษาความเป็นอิสระ และคุณภาพของงานตรวจสอบภายใน โดยจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบเดือนละ 1 ครั้ง และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ตามรายงานที่ต่อเนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน และจะมีการนำเสนอรายงานต่างๆ ณ สิ้นปี เช่น รายงานตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานการประเมินระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้ระบบการควบคุมภายในมีความเพียงพอ เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจและมีประสิทธิผลในการดำเนินงาน และรายงานให้ คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นทราบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่และแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระภายใต้ขอบเขต อำนาจหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในการช่วยกำกับดูแลให้การดำเนินงานของบริษัทฯ ปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีบทบาทหน้าที่ในการสอบทานงบการเงิน การสอบทานรายการระหว่างกัน การสอบทานการบริหารความเสี่ยง การสอบทานการปฏิบัติตามกฎหมาย การสอบทานและกำกับดูแลการตรวจสอบภายใน และการพิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้